Wednesday 15 October 2008

สุรนันทน์วันนี้: อาเต็ฟ โซ๊ะโก แนะแก้การเมือง ต้องเลือกตั้งนายกฯ-ยกเลิกสว.

08 ต.ค.--โพสต์ทูเดย์

lสุรนันทน์ : เรื่องการปฏิรูปการเมือง และการร่างรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากข้อเสนอการเมืองใหม่ โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็มีข้อเสนออื่นๆ ที่มีการนำเสนอต่อสาธารณชนที่มีความ แตกต่าง ซึ่งอาจจะเป็น ทางเลือกอีกทางหนึ่ง และหวังว่าจะได้รับการ พิจารณาด้วยเช่นกัน คือข้อเสนอของสหพันธ์นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรเครือข่ายที่ประชุมร่วมกัน วันนี้ผมจึงได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากคุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. คุณอาเต็ฟครับ ไปคุยกันที่ไหนมีใครบ้างไปคุยกัน

อาเต็ฟ : เราไปคุยกันที่จุฬาฯ ที่พูดคุยกันหลักๆ ก็จะมีกลุ่มนักศึกษาจาก สนนท. แล้วก็กลุ่มประกายไฟซึ่งก็มีรุ่นพี่ ที่เรียนจบแล้ว และยังเรียนอยู่ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีกลุ่มสหภาพแรงงาน แล้วก็มีประชาชนผู้สนใจทั่วไป วันนั้นมีประมาณ 30 เกือบ 40 คน

lสุรนันทน์ : วันนั้น สนนท. เป็นเจ้าภาพ แล้ว สนนท. มีตุ๊กตาในใจไว้ก่อนหรือเปล่า เขียนไว้ก่อนหรือมาคุยกันตรงนั้นเลย

อาเต็ฟ : ก็อย่างเรื่องของที่มาของนายกรัฐมนตรี และก็เรื่องรัฐสวัสดิการ

lสุรนันทน์ : ผมต้องถามตรงๆ ว่า มีใครมา ชี้นำไหม บอกว่าจัดประชุมกัน และออกไปต้าน พธม.กัน

อาเต็ฟ : ไม่มีอยู่แล้ว เพราะอย่างเรื่องไหนก็ตามที่ขัดแย้ง กับประชาธิปไตย สนนท.ก็ออกมาคัดค้านเสมอ อย่างยกเลิก พ.ร.ก. ที่รัฐบาลนี้ประกาศ พธม. ก็เสนอให้ยกเลิกเหมือนกัน สนนท. ก็เป็นองค์กรแรกก็ว่าได้ที่ออกมาให้รัฐบาลยกเลิก

lสุรนันทน์ : สนนท. มีข้อเสนอที่เด่นๆ อะไรบ้าง

อาเต็ฟ : อย่างเช่นเรื่องปฏิรูปการเมืองก็จะมีเรื่องการเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยตรง และก็มีการยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา

lสุรนันทน์ : ยกเลิก สว. คือยกเลิกไปเลย ไม่มีเลย ไม่ต้องเลือกตั้ง มีสภาฯ เดียว ทำไมถึงมาถึงจุดนี้ได้

อาเต็ฟ : คือ สนนท. มองว่าที่มาของ สว. จริงๆ คือบางประเทศก็มี สว. บางประเทศก็มีสภาฯ เดียว การมี สว.เป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่าเมื่อก่อน สว.มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด ระยะหลังๆ ก็จะมีการเรียกร้องจากประชาชนอยากให้มีการเลือก ตั้งก็มีการเลือกบ้าง แต่สิ่งที่มาในตอนแรกคือ สว.มาเพื่อคานอำนาจอาจจะเป็น สส.กับรัฐบาล จริงๆ สส.ก็ทำหน้าที่ได้แล้ว คือการมี สว. คือมาจากอคติที่ว่า สส.ไม่มีความรู้ หรือมีความรู้ ที่ไม่ดีพอ สว. คือวุฒิสมาชิก คือผู้ที่มีวุฒิ ซึ่งผม มองว่าไม่ตรงกับประชาธิปไตย

lสุรนันทน์ : จึงคิดว่ามีสภาฯ เดียวได้ ตัด สินใจได้หมด กระบวนการตรวจสอบจะตรวจสอบอย่างไร องค์กรอิสระควรจะมีไหม

อาเต็ฟ : องค์กรอิสระก็คุยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ออกมาในแถลงการณ์ของเรา ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสภาฯ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีเอง ก็คือ ประชาชน

lสุรนันทน์ : อำนาจของประชาชนเลือกผู้แทนฯ เข้าไปประชาชนก็ตรวจสอบ แล้วนายกฯ ทำไมมาตรง

อาเต็ฟ : คือปัจจุบันค่อนข้างจะมีปัญหา เรามองตรงที่พัฒนาการของการเมือง ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมาก แล้วสามารถนำเสนอนโยบายที่ตัวเองนำเสนอสามารถนำมาใช้ได้จริงก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ แต่สมมติว่านายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือว่ามาจากนิติบัญญัติมันจะมีเรื่องผลประโยชน์ เรื่องการต่อรอง เรื่อง ครม.

lสุรนันทน์ : ให้มีที่มาชัดเจน แยกกันไปเลย มาจากประชาชนโดยตรงทั้งสองฝ่าย แต่นายกฯ เองก็ยังต้องไปพึ่งเสียงในสภาที่จะให้ผ่านกฎหมายต่างๆ

อา เต็ฟ : แน่นอน คือลงไปในรายละเอียดนิดหนึ่งคือ อย่างนายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือสมมติว่า ตัวของนายกฯ เองอยากจะให้ผ่านกฎหมายอะไร อาจจะต้องให้สภาฯ เป็นคนอนุมัติ สมมติว่ามติที่ออกมาสวนทางกับสิ่งที่ ครม.ต้องการ ขบวนการก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติได้ ในท้ายที่สุดแล้วเจตนารมณ์ของ สนนท. คือให้ประชาชนเป็นคนตัดสินเพราะประชาชนเป็น เจ้าของอำนาจ

lสุ รนันทน์ : เพราะฉะนั้นให้แยกที่มาเสีย สภาฯ อาจจะคุมโดยพรรคหนึ่งก็ได้ นายกฯ อาจจะเป็นอีกพรรคหนึ่งก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ต้องไปต่อรองกัน เพราะถ้าเกิดมาจากสภาฯ เกรงว่าจะต้องไปพึ่งส่วนต่างๆ ประเด็นนี้ถกเถียงกันนานไหม เพราะเรียกได้ว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามาก

อาเต็ฟ : ก็นานพอสมควรเหมือนกัน เพราะว่าเรากลับไปที่ที่บางคนก็พูด ถึง คือ ปาร์ตี้ลิสต์ ตอนรัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่าเป็นนายกฯ มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ได้หรือไม่ ได้ก็ต่อเมื่อเสียงผ่าน กึ่งหนึ่ง นั่นเป็นกรณีที่ตรงกัน ก็เลยไปได้ แต่เราพูดถึงการเป็นระบบคือจะเป็นลักษณะไหน ตามระบบนั้นก็คือสามารถใช้ได้ตลอด ไม่ใช่ว่าพอตัวบุคคลนี้ มาก็สามารถใช้ได้ แต่พออีกคนมาก็ต้องเปลี่ยนระบบ

lสุ รนันทน์ : เราไม่ได้ไปคิด ยึดติดตัวบุคคลแล้ว เราคิดว่ากรอบน่าจะเป็นอย่างนี้ เอาหลักการให้ถูก แล้วก็เดินต่อ ทางการเมืองมีข้อเสนออื่นอีกหรือไม่ครับ

อาเต็ฟ : ก็เรื่องการเลือกตั้งเขตเดียว เบอร์เดียว เรามองว่าเป็นการใช้สัดส่วนเท่าเทียมกัน คือมองว่าผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนของประชาชนควรจะมาจากเสียง ที่เท่ากัน คืออย่างการเลือกตั้งที่ผ่านมา ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อย่างเขตที่เลือกตั้งได้ 3 คน ประชาชนก็สามารถเลือกได้ 3 คน แล้วก็เขต เลือกตั้งที่เป็นเขตเล็ก เลือกได้คนเดียว ประชาชน ที่มี สส.ได้คนเดียวในเขตของตนเอง ก็ถือว่ามีอำนาจที่น้อยกว่า

lสุรนันทน์ : เป็นหลักมาตรฐานสากล จริงๆ เมืองไทยทดลองมาหมดแล้วนะ ข้อเสนอบาง ข้อเสนอที่เข้ามาแล้วไม่ใช่การเมือง อย่างเรื่องการทำแท้งเสรี พวกนี้เข้ามาได้อย่างไร

อา เต็ฟ : เนื่องจากที่เสวนาของเรามีกลุ่ม หลากหลาย มีกลุ่มผู้หญิง กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มแรงงานก็มี ที่ร่วมเสวนาก็เห็นว่าเป็นข้อเสนออย่างหนึ่งได้ เพราะว่าจะได้เป็นการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนและภาคสังคมว่าจะเห็นด้วยประการใด

lสุรนันทน์ : มีอะไรที่อยากจะให้ประชาชน รับรู้ มีข้อเสนออะไรที่คิดว่าเด่นๆ อีก

อาเต็ฟ : มีเรื่องรัฐสวัสดิการ คือทุกคนมักจะ โทษคนชั้นล่างเสมอว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการเมือง และบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่ใฝ่หาที่จะเรียนรู้ จะเป็นผู้ที่ถูกซื้อเสียงได้ง่าย มักจะเป็นจำเลยของสังคมเสมอ ซึ่งผมมองว่าก่อนที่เราจะให้เขาไปศึกษาเราต้องถามว่า เรื่องปากท้องของเขา เขามีเวลา ที่จะเรียนรู้เรื่องการเมืองหรือเปล่า คือเขาต้อง หาเช้ากินค่ำ ก็ควรที่จะจัดสรรผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้ในฐานะเป็นเจ้าของประเทศด้วยกัน อย่างเรื่อง 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเสนอให้ใช้ตลอดไปเลย และเพิ่มใน รายละเอียดด้วยไม่เฉพาะแต่ 6 มาตรการเพียง อย่างเดียว

lสุรนันทน์ : เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแลสวัสดิการของประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ไปทิ้งเขา เห็นว่ามีเรื่องของภาษีด้วย

อาเต็ฟ : เรื่องภาษีก็ให้เก็บอัตราก้าวหน้า ก็ เป็นข้อเสนอเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเก็บภาษีตามรายได้ ภาษีที่ได้จะเป็นธรรม และสามารถนำมาบริหารเป็นประโยชน์แก่คนที่ขาดโอกาส

lสุรนันทน์ : เมื่อเสนอข้อเสนอนี้ไปแล้วคาดว่า จะได้อะไร

อาเต็ฟ : อย่างน้อยเป็นการปลุกให้ประชาชนตื่น เพื่อทราบว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่ และตอนนี้ทุกภาคส่วน อย่างนักวิชาการก็ดีมักจะพูดถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องนามธรรม แต่ถ้าเรา เสนอแบบนี้เป็นรูปธรรมชัดเจนประชาชนจะได้รู้ว่า ตัวเองสามารถกำหนดได้ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหารของตน คิดว่าคงจะมีการตอบรับที่ดีพอสมควร

lสุรนันทน์ : และเราก็พร้อมจะไปถกเถียงกับคนอื่นๆ ด้วย มีคนโทรมาหาไหมหรือส่งจดหมาย มาไหม ว่าทำอะไรกัน

อาเต็ฟ : ก็มี เราก็บอกว่ายินดีด้วยที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน เราเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางทีเราอาจจะมองจากในมุมหนึ่งในอีกมิติหนึ่ง เขาอาจจะมองในอีกมิติหนึ่ง ถ้าเราได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันคงจะได้ข้อสรุปที่ดี--จบ--

No comments: