Wednesday 11 March 2009

International Women’s Day 2009 Declaration

Feminists might make you think that men are the root of all problems and that they should be emancipated.

But take a look at the reality! Are not there only women who sell their labor? Are not there only women who got fired? Are not there only men who are the employers? Are not there only men who have seats in the parliament?

No there are not! The proletariat include men and other sexes, while the oppressors, also, and are composed of women, men and other sexes. Therefore, the problem is not about sex but rather classes because the capitalists, in spite of what sex, nationality or religion they are, will exploit the proletariat in spite of what sex, nationality or religion they are

Now, in the midst of the capitalism crisis, which has grown up from fleecing the proletariat like us, the living of us, which are made up the majority in the society, has, however, become more difficult. The capitalists, who own the productive factors, have taken advantage to reduce the welfare or fire us from the factory we have built with our own hands. Or they even change the recruiting system by using sub-contract system, which exploits us even more than the old system just only for the sake of making profit no matter how the economic situation is like.

Meanwhile, every cabinet, who seeks legitimacy through claiming to represent the people’s voice or the high virtue, always enact policies in favor of the rich and the capitalists. They look to stimulate the economy instead of stabilizing it for the sake of the majority of the people. They see our unstable life as a mere bad luck, so, for their mercy, they split a tiny of the meat in their mouth to us so we could survive day by day. Our life without security net is, actually, the result of their systematic exploitation. Thus, the government is definitely not our representative but the capitalism all along. This present capitalist crisis is good evidence that it has failed to satisfy people’s needs.

Hence, for us to have stability in life, economic and society, to experience justice and equality, to build the genuine popular democracy, to take back what we have been exploited and to regain our dignity as a human being, we will use this auspicious occasion on the international women’s day the day of equality to declare that we have ‘enough’

1. As a principle, we will encourage the welfare state that will give full-circled insurance. It is the system that has fully developed from capitalism. There is no discrimination against the poor such as free education, accommodation, social jobs or appropriate income for living equally in the society. State has to stabilize the economics and the society.

2. The budget for the welfare state should be collected from the property tax, inheritance tax and income tax in the progressive rate. Who has more, pay more and who has little, pay nothing.

3. Welfare state will bring about a democratic society because it really gives power to the people not just written in the constitution.

4. The unions for the labors like the Trade Union are crucial for building the welfare state but they are not enough. It requires a political party of the labors to have voice in the parliament against the capitalists to determine the direction of the policy. Therefore, it is very important that we build our own party. One way to assert our interests in the policy-making process and another to educate people.



The new society with equality, we, the majority, are the one who determine, not beg anymore

Get united – stop capitalism – build a welfare state!

Labour Organizations for solving Labour Crisis

Monday 9 March 2009

เรื่องที่มากับสายเคเบิล และการรับมือความเห็นหมิ่นฯ

ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข





สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ‘ประชาไท’ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 แม้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเหตุเภทภัย แต่ความหวั่นวิตกก็เกิดขึ้นเพียง 5 หรือ 10 นาทีแรกเท่านั้น นอกนั้นสิ่งที่เป็นหลักในความรู้สึกนึกคิดของเราก็คือ



ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ และขอบคุณ



ขอบ คุณ อ.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว ผู้เสนอตัวเป็นผู้ประกันอย่างไม่รีรอ ขอบคุณผู้อยู่เบื้องหลังดำเนินการ ตลอดจนผู้ประสานจัดหาทนาย ขอบคุณทุกท่านที่ส่งกำลังใจมาทุกรูปแบบ ขอบคุณเพื่อนนักวิชาการหลายท่านที่เดินทางมาให้กำลังใจคุณจีรนุช เปรมชัยพร และประชาไทถึงกองปราบปราม ทั้งๆ ที่โดยส่วนตัวแทบไม่รู้จักกัน ขอบคุณเพื่อนองค์กรพัฒนาเอกชน ขอบคุณสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ขอบคุณเพื่อนสื่อทางเลือกหลายสำนัก ตลอดจนเครือข่ายพลเมืองเน็ต และอีกมากที่มาและไม่มาในวันนั้น



เหตุการณ์ ของบ่ายวันนั้น ยังต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่กองปรามปรามด้วย ที่จริงเราได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่กองปราบปรามอย่างดี ให้เกียรติ เป็นมิตร และเคารพสิทธิ แม้จะมีการปะทะด้วยวาจากันบ้าง แต่ความรุนแรงคงไปเทียบไม่ได้กับการจับกุมกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่ไร้อำนาจต่อรองตลอดช่วงชีวิตที่เราเห็นมา



0 0 0



หลัง เจ้าหน้าที่กองปราบสองคันรถยื่นหมายค้นและหมายจับคุณจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการประชาไท ในความผิดฐาน “ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นคอมพิวเตอร์ตาม (1) และ (3) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2550 มาตรา 14 (1) (3) (5) และมาตรา 15”



ไม่ ถึงสิบนาทีก็มีโทรศัพท์มาไม่ขาดสาย ผู้คนมาที่สำนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ อีกไม่เกินสิบนาทีหลังจากนั้น สำนักข่าวทั้งในและต่างประเทศก็ต่อสายเข้ามา บ้างก็รู้ข่าวสารจากเอสเอ็มเอส จากวิทยุ จากบล็อก จากทวิตเตอร์ จากเครื่องมือสร้างเครือข่ายทางสังคมทุกรูปแบบสารพัด แม้กระทั่งเพื่อนอีกฝากฝั่งของโลกก็ลงทุนโทรมาถามไถ่หลังสถานีวิทยุในท้อง ถิ่นที่นั่นออกข่าว สำนักสื่อสารทั้งแดงทั้งเหลืองถามไถ่ ทั้งห่วงใย ทั้งแสดงความตั้งใจจะเผยแพร่ข่าว เขาไม่ได้เอ่ยปากว่าหรอกว่าจะปกป้องประชาไทหรือคุณจีรนุช และไม่ได้เอ่ยปากแบบนิยายว่าจะปกป้องเสรีภาพ แต่มันง่ายกว่านั้นมาก คือเขาเพียงแต่ปฏิบัติมันให้เห็นด้วยเครื่องมือที่เขามีอยู่



เรื่อง ทั้งหมดกล่าวแบบไม่เกินเลยก็ได้ว่า มันเริ่มขึ้นจากคนเพียงคนหนึ่งยกหูบอกข่าว กับอีกคนหนึ่งซึ่งแอบเห็นเขาเดินเลี่ยงตำรวจไปอัพบล็อก



คุณ ครับ นี่ไม่ใช่เรื่องของคนเพื่อนเยอะ เพราะแม้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่นั่นคงไม่ใช่นัยสำคัญที่เราจะกล่าวถึงในโอกาสนี้ สำหรับเรานี่คือพลังของสื่อทางเลือกแบบใหม่ๆ ที่เป็นฝนอันชื่นใจแท้ๆ ที่มากับสายเคเบิลและคลื่นความถี่ในอากาศ



และ นี่ไม่ใช่การมาโอ้อวดโชว์พลัง นัยสำคัญมากไปกว่านั้นที่เรากำลังจะบอกท่านผู้อ่านและผู้ไม่ประสงค์จะอ่าน แต่ถูกบังคับให้อ่านด้วยหน้าที่การงาน รวมทั้งหน่วยงานเฝ้าระวังต่างๆ ตลอดจนเพื่อนมิตรตำรวจที่ต้องเป็นหนังหน้าไฟในทุกกรณีก็คือ



‘โลกได้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ’



ไม่ ว่าใครก็จำเป็นต้องสนใจกับโลกที่เปลี่ยนไปนี้ และ 'ปฏิรูป' เปลี่ยนแปลงการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปเพื่อการอยู่รอดในอนาคต จะมารับมือเหมือนยุคเมื่อ 30 ปีที่แล้วไม่ได้



‘ประชาไท’ รวมถึงคุณจีรนุช และทีมงานทุกคนก็ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ และเปลี่ยนแปลงการรับมือกับความคิดเห็นที่เสรีและหลากหลาย เราพยายามส่งเสริมให้เกิดความคิดเห็น เพราะเราตระหนักดีว่า มีแต่เสรีภาพที่คู่ควรจะจัดการกับการใช้เสรีภาพ แต่เราก็ไม่ละเลยที่จะพยายามส่งเสริมให้การแสดงความคิดเห็นนั้นมาพร้อมกับ ความรับผิดชอบในกรอบเกณฑ์ของเขาเองให้มากที่สุด



อย่างไรก็ตาม ‘ข้อความอันเป็นการละเมิด’ ประชาไท ไม่ได้เพียงจัดการกับเฉพาะการหมิ่นสถาบันเท่านั้น หากแต่หมิ่นประมาทผู้อื่นหรือการเหยียดเชื้อชาติ ศาสนาก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิ ละเมิดหลักการสากลที่เราตระหนักและให้ความสำคัญตลอดมา



พูด กันตามจริงโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้วัด การแสดงความคิดเห็นในประชาไททั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญมาอย่าง ต่อเนื่อง คนที่เอาแต่ด่านั้นมีลดน้อยลง เหตุผลและประเด็นก็มีมากขึ้น กระทั่งบางคนยังมีประเด็นที่แหลมคมและสร้างสรรค์มาฝากผู้อ่านก็ไม่น้อยและ บ่อยครั้งไป



ตรง ไปตรงมาแบบเคารพตัวเองและผู้อ่าน โดยจะกล่าวถึงเฉพาะการแสดงความเห็นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น เปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอในตัวของมันเองไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เทคนิคทางวรรณกรรมทุกประเภทถูกนำมาใช้เพื่อหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ เราปิดคำไหน เขาเปลี่ยนคำนั้น เราปิดทั้งหมดเขาเปลี่ยนทั้งหมด เราปิดกั้นเขา เขาไปโผล่เว็บอื่น ประเทศไทยทุกองคพยพปิดกั้นเขา เขาก็ไปโผล่ประเทศอื่น เราไม่ให้เขาเขียน เขาก็ยังอุตสาห์ไปโผล่เป็นภาพ



'เขา' คือใคร คำตอบก็คือ...ไม่รู้ แต่มี 'เขา' เยอะไปหมด ไม่ใช่ขบวนการแน่นอน แต่มีเยอะไปหมด การพยายามมองเป็น ‘ขบวนการ’ จึงล้าสมัยและไร้เดียงสาเอามากๆ ในกรณีแบบนี้



ต้น ทุนการไล่ตามและปิดกั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่ได้ผล กลับซ้ำเติมซ้ำร้ายหนักขึ้นไปอีก และนั่นหมายความว่า ต้นทุนของวิธีการรักษาความสง่างามของสถาบันพระมหากษัตริย์แบบเดิมที่ไม่ยอม ให้ด่างพร้อยก็เพิ่มขึ้นด้วย และนี่อันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งกว่าความคิดเห็นเสรี เหล่านั้นเสียอีก



ย้ำ! อันตรายยิ่งกว่า



อย่างไรก็ตามในฐานะเวทีกลาง ‘ประชาไท’ ใช้ทรัพยากรเพื่อเฝ้าดูและระวัง ตรวจสอบ และเซ็นเซอร์ข้อความเหล่านี้มากกว่ามาก เราอาจจะตามไม่ทันศิลปะและการเลื่อนไหลของความหมายในเว็บบอร์ดอยู่บ้างบาง ครั้ง แต่เห็นอัตราถี่ห่างของความเห็นที่หมิ่นบ้างไม่หมิ่นบ้างเหล่านั้น



ยาม “บ้านเมืองปกติ” (เราเรียกกันอย่างนั้น) การพาดพิงหรือแสดงความเห็นเกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ก็ลดน้อยลง ค่อยๆ เลือนหาย ไม่มีคำถาม ไม่มีใครอยากเสี่ยงพูด และอาจจะเรียกได้ว่า คอยชื่นชมเก็บสะสมกิจกรรมดีๆ ไว้ในใจ และนี่คือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นมาตลอดเกือบ 60 ปี



ดัง ที่เราจะเห็นได้ว่า ก่อนที่สนธิ ลิ้มทองกุล จะเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนจะมีการชูพระราชอำนาจ และก่อนจะมีการขอนายกฯพระราชทานจากมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ 2540 ข้อความที่พาดพิงสถาบันฯไม่ว่าจะในทางใดๆ แทบไม่เคยมี แทบไม่เคยเกิดขึ้น แทบไม่เคยต้องมีการเซ็นเซอร์ หรือระวังใดๆ เป็นพิเศษเลยด้วยซ้ำ



แต่ยาม “บ้านเมืองไม่ปกติ” ความเห็นเหล่านั้นก็แห่มาชนิดที่แทบทุกคนต้องหยุดงาน ประกาศภาวะฉุกเฉิน แล้วมานั่งเฝ้าบอร์ดกัน



อะไร คือยาม “บ้านเมืองไม่ปกติ” กล่าวแบบง่ายๆ เลยก็คือ ยามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวซึ่งหลายครั้งใช้ประเด็น สถาบันฯ มาเป็นเครื่องมือ หรือยามที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการจะเอาชนะใครทางการเมืองแบบเข้มข้นโดยไม่ เลือกวิธีใช้



ข้อความในเว็บบอร์ดที่เป็นเหตุให้คุณจีรนุชถูกหมายจับ เป็นข้อความที่เกิดขึ้นสองวันหลังเหตุการณ์พระราชทานเพลิงศพ ‘น้องโบว์’



ที่จริงคงต้องบอกด้วยว่า ยอดเฉลี่ยสามแสน page view ของประชาไทในแต่ละวัน หรือเฉลี่ย 4 page view ต่อวินาทีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะจัดการ กว่า 4 ปีของประชาไท เราหรือที่จริงก็คือคุณจีรนุชนั่นเอง ได้วิ่งรอกประชุมประสานกับเครือข่ายอื่นๆ ทั้งไอซีที ทั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต ผู้ใช้เน็ต เครือข่ายอาสาสมัคร จนกระทั่งเกิดกลไกเฝ้าระวังที่ได้ผล มีการแจ้งลบที่เร็ว มีข้อตกลงเรื่องการเซ็นเซอร์ที่เราพอรับได้ด้วยกันทุกฝ่าย ทุกคนทำงานสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดการแสดงความเห็น ปิดกั้นการใช้ความเห็นไปละเมิดผู้อื่น ร่วมมือทำงานอย่างเข้าใจ และได้ผล



แต่เกิดอะไรขึ้นหรือครับในวันที่ 6 มีนาคม อยู่ดีๆ ให้ตำรวจมาบุกจับเราทำไม



ในหมายค้นของตำรวจอ้างเหตุผลการค้นกับศาลว่า ‘ประชาไท’ ปล่อยให้มีข้อความที่ตำรวจหาว่า “หมิ่นฯ” ถึง 20 วัน แล้วทำไมเมื่อท่านถอดความหมายนั้นได้แล้ว และตีความว่า “หมิ่น” ทำไมไม่บอกเรา ท่านปล่อยให้มีข้อความนั้นไว้ถึง 20 วันเพื่ออะไร ทั้งๆ ที่เรา ไอซีที และเครือข่ายทั้งหลายร่วมกันทำงานเรื่องนี้กันอยู่แล้ว



เรา ไม่ได้เรียกร้องขอความเห็นใจ เราเพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ยืนยันกับโลกได้ว่า กรณีหมิ่นฯ และคดีที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้ารัฐใช้เหวี่ยงแหนี้ เป็นได้อย่างมากก็แค่เครื่องมือเพื่อเล่นงานกันทางการเมือง ไม่ใช่เครื่องมือปกป้องสถาบันฯ



ท่าน ปั่นกระแสให้คนช่วยกันหมิ่น เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของท่าน แล้วให้เรามานั่งไล่ปิด ให้เราต้องเหนื่อยไม่พอ ยังต้องให้ตำรวจลำบากใจเอากฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวตอร์ มาจับเราอีก



ยังไม่นับคนที่โดน ‘กฎหมายหมิ่นฯ’ ม.112 โดยตรง กี่คนที่ต้องเข้าไปอยู่ในคุก สิ้นเนื้อประดาตัว ครอบครัวกี่คนที่ร้องไห้แทบขาดใจ โดยยังมิทันได้พิสูจน์ความผิด หลายกรณีถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งบรรยากาศทางการเมืองและความ กลัวที่หลายๆ ฝ่ายร่วมกันสร้างขึ้นมาเช่นนี้



ท่าน ได้หน้าด้วยการอวดอ้างจงรักภักดีเสียเหลือเกิน เราเหนื่อย ตำรวจเหนื่อย คนเล็กคนน้อยต้องประสบเภทภัยในชีวิต ส่วนสถาบันฯก็เสื่อมเสียด้วยถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยไม่มีอะไรดีขึ้นเลย



มาถึงตรงนี้ จึงมีเรื่องที่สังคมไทยจำเป็นต้องถกเถียงในระดับความเร็วแบบรีบด่วน นั่นคือเรื่องเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ



นักวิชาการชื่อดังจากนานาชาติ 54 ท่าน จับสัญญาณได้ไวกว่ารัฐไทยมากนัก จึงเรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ปฏิรูปก็คือปฏิรูป ไม่ได้แปลว่ายกเลิก ซึ่งก็ไม่วายถูกนักการเมืองทั้งในสภาและนอกสภา ทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบพวกนี้หากิน เบี่ยงประเด็น กล่าวหา และป้ายสีให้เป็นพวกนิยมสาธารณรัฐเลยเถิดเข้าไปอีก



ยังเคยนึกเลยว่า หรือที่จริงนั้นขบวนการสอพลอพวกนี้นี่เองที่พยายามจะกดดันให้เกิด ‘ขบวนการ’ ไม่ว่าจะในรูปไหน ไม่มีข้อเท็จจริงก็ปั้นด้วยมายาภาพ หรือไม่ก็กดขี่รังแกให้เกิดการรวมตัว ให้เกิดบรรยากาศว่า ‘ไม่ดิ้นรนต่อสู้ก็รอวันตาย’ ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการมีขบวนการ ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการเสื่อมเสียของสถาบันเบื้องสูง



ไม่รู้สิครับ นอกจากเราต้องปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ และ พ.ร.บ.คอมพวเตอร์แล้ว เราเองก็ต้องก้าวข้าม ‘ขบวนการสอพลอ’ เหล่านี้ให้ได้



ส่วนราชสำนักและรัฐไทยเองก็ต้องแสดงท่าทีกับ ‘ขบวนการสอพลอ’ เหล่านี้ และต้องแสดงให้ประชาชนเห็น นี่ต่างหากที่เราจะจัดการกับการแสดงความเห็นที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดได้อย่างถาวรและยั่งยืน

แรงงาน-นศ. ดัน ‘รัฐสวัสดิการ’ หนุนเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า

(8 มี.ค.) เนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับ 8 มี.ค. ของทุกปี องค์การความร่วมมือแก้วิกฤตแรงงาน (ควร.) ประมาณ 250 คน ซึ่งประกอบด้วยองค์กรแรงงานและนักศึกษา อาทิ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย, อุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย, สหพันธ์ แรงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ, กลุ่มกรรมกรปฏิรูปและกลุ่มประกายไฟ เป็นต้น ร่วมกันชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบฝั่งประตู 4 ตรงข้ามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)



ผู้ชุมนุมใช้แถบผ้าสีแดงมีข้อความ “หยุดทุนนิยม สร้างสังคมรัฐสวัสดิการ” คาด ศีรษะเป็นสัญลักษณ์ โดยผลัดกันขึ้นปราศรัยบนรถบรรทุก นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมแสดงละครสะท้อนปัญหาแรงงานหญิงจาก สนนท. และกลุ่มประกายไฟ และทำพิธีรดน้ำศพหุ่นนายกฯ เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยแก้ปัญหาให้คนงาน เท่ากับเป็นรัฐบาลที่ไม่มีชีวิต โดยผู้ชุมนุมได้ช่วยกันนำหุ่นนายกฯ โยนเข้าไปในทำเนียบฯ ทางประตู 5 ก่อนจะยุติการชุมนุมด้วย



“... เพื่อให้พวกเราซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมมีความมั่นคงในชีวิต เศรษฐกิจและสังคม เพื่อความเป็นธรรม ความเสมอภาค เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้พวกเราได้ในสิ่งที่พวกเราถูกขูดรีดไปกลับคืนมา และเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเรา ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงขอใช้โอกาสวันสตรีสากล วันแห่งความเสมอภาคและความเป็นธรรมนี้ประกาศว่า “พอกันที”” นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนอ่านคำประกาศวันสตรีสากล ซึ่งระบุว่า ในเบื้องต้นจะร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการคือเป็นสังคมที่ ให้หลักประกันในทุกด้านอย่างถ้วนหน้าและครบวงจร โดยใช้งบประมาณจากภาษีที่ดิน ภาษีมรดก และภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า รวมถึงยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ลดงบประมาณของรัฐ ที่ไม่จำเป็น เช่น งบประมาณทางการทหาร งบประมาณการโฆษณา และพิธีกรรรมของรัฐที่ไม่จำเป็นต่อชนชั้นล่าง เป็นต้น ซึ่งรัฐสวัสดิการนั้นจะนำไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ตัวอักษรตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นยังเสนอให้มีพรรคการเมืองที่เป็นของแรงงานเอง เพื่อเข้าไปมีส่วนกำหนดนโยบายรัฐโดยตรงและเพื่อให้การศึกษาแก่มวลชนด้วย



นาง สาวจิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คนมักคิดว่าการเรียกร้องสิทธิผู้หญิงคือการเรียกร้องสิทธิที่เหนือกว่า ผู้ชาย แต่ตนเองมองว่า ไม่ใช่การเหนือกว่า แต่เป็นเรื่องสิทธิของคนจนที่จะเข้าสู่การกำหนดนโยบาย การบริหารประเทศได้อย่างไร ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้หญิง เป็นแค่ชนชั้นเราก็พอแล้ว เพราะถ้ามองแค่ว่าต้องเป็นผู้หญิง สุดท้ายคนที่เข้าสู่ตำแหน่งก็ไม่พ้นชนชั้นสูงอย่างคุณหญิงคุณนายทั้งหลาย

แรงงาน-นศ. ดัน ‘รัฐสวัสดิการ’ หนุนเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า

(8 มี.ค.) เนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับ 8 มี.ค. ของทุกปี องค์การความร่วมมือแก้วิกฤตแรงงาน (ควร.) ประมาณ 250 คน ซึ่งประกอบด้วยองค์กรแรงงานและนักศึกษา อาทิ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย, อุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย, สหพันธ์ แรงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ, กลุ่มกรรมกรปฏิรูปและกลุ่มประกายไฟ เป็นต้น ร่วมกันชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบฝั่งประตู 4 ตรงข้ามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)



ผู้ชุมนุมใช้แถบผ้าสีแดงมีข้อความ “หยุดทุนนิยม สร้างสังคมรัฐสวัสดิการ” คาด ศีรษะเป็นสัญลักษณ์ โดยผลัดกันขึ้นปราศรัยบนรถบรรทุก นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมแสดงละครสะท้อนปัญหาแรงงานหญิงจาก สนนท. และกลุ่มประกายไฟ และทำพิธีรดน้ำศพหุ่นนายกฯ เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยแก้ปัญหาให้คนงาน เท่ากับเป็นรัฐบาลที่ไม่มีชีวิต โดยผู้ชุมนุมได้ช่วยกันนำหุ่นนายกฯ โยนเข้าไปในทำเนียบฯ ทางประตู 5 ก่อนจะยุติการชุมนุมด้วย



“... เพื่อให้พวกเราซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมมีความมั่นคงในชีวิต เศรษฐกิจและสังคม เพื่อความเป็นธรรม ความเสมอภาค เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้พวกเราได้ในสิ่งที่พวกเราถูกขูดรีดไปกลับคืนมา และเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเรา ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงขอใช้โอกาสวันสตรีสากล วันแห่งความเสมอภาคและความเป็นธรรมนี้ประกาศว่า “พอกันที”” นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนอ่านคำประกาศวันสตรีสากล ซึ่งระบุว่า ในเบื้องต้นจะร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการคือเป็นสังคมที่ ให้หลักประกันในทุกด้านอย่างถ้วนหน้าและครบวงจร โดยใช้งบประมาณจากภาษีที่ดิน ภาษีมรดก และภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า รวมถึงยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ลดงบประมาณของรัฐ ที่ไม่จำเป็น เช่น งบประมาณทางการทหาร งบประมาณการโฆษณา และพิธีกรรรมของรัฐที่ไม่จำเป็นต่อชนชั้นล่าง เป็นต้น ซึ่งรัฐสวัสดิการนั้นจะนำไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ตัวอักษรตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นยังเสนอให้มีพรรคการเมืองที่เป็นของแรงงานเอง เพื่อเข้าไปมีส่วนกำหนดนโยบายรัฐโดยตรงและเพื่อให้การศึกษาแก่มวลชนด้วย



นาง สาวจิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คนมักคิดว่าการเรียกร้องสิทธิผู้หญิงคือการเรียกร้องสิทธิที่เหนือกว่า ผู้ชาย แต่ตนเองมองว่า ไม่ใช่การเหนือกว่า แต่เป็นเรื่องสิทธิของคนจนที่จะเข้าสู่การกำหนดนโยบาย การบริหารประเทศได้อย่างไร ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้หญิง เป็นแค่ชนชั้นเราก็พอแล้ว เพราะถ้ามองแค่ว่าต้องเป็นผู้หญิง สุดท้ายคนที่เข้าสู่ตำแหน่งก็ไม่พ้นชนชั้นสูงอย่างคุณหญิงคุณนายทั้งหลาย

แรงงานกลุ่มต่างๆ เคลื่อนเรียกร้องสิทธิ-สวัสดิการในวันสตรีสากล

(8 มี.ค.) เนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับ 8 มี.ค. ของทุกปี ในช่วงเช้า กลุ่มแรงงานหลายกลุ่มจัดการชุมนุมเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ บริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาล



กลุ่มองค์กรแรงงาน 45 กลุ่ม ประมาณ 500 คน อาทิ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายแรงงานนอกระบบ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิผู้หญิง เป็นต้น ตั้งเวทีหน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งสะพานบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยมีการผลัดกันขึ้นปราศรัยของกลุ่มต่างๆ การแสดงดนตรีจากวงภราดร และการแสดงละครสะท้อนปัญหาแรงงานหญิง



ทั้ง นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เดินทางมารับหนังสือข้อเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ บนเวที โดยกลุ่มองค์กรแรงงานเรียกร้องให้รัฐต้องจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในเขตชุมชน ย่านอุตสาหกรรมต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอ และปรับคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยมีผู้แทนของผู้ใช้แรงงานและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รัฐต้องออกกฎหมายกำหนดสัดส่วนให้สตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกระดับ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และให้รัฐประกาศวันสตรีสากลเป็นวันหยุดตามประเพณี



ขณะที่หน้าทำเนียบฝั่งประตู 4 ตรงข้ามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีแรงงาน 2 กลุ่มใหญ่ คือ สหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวงและอดีตพนักงาน บริษัทเมย์ฟิลด์ จำกัด ประมาณ 100 คน ซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อโปโลสีส้ม ซึ่งมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแก่พนักงาน บริษัทเมย์ฟิลด์ จำกัด ซึ่งถูกเลิกจ้างหลังบริษัทประกาศปิดกิจการ ให้ได้รับค่าชดเชยตามที่กฏหมายกำหนด หลังปักหลักชุมนุมที่กระทรวงแรงงานกว่า 10 วันแล้ว



ด้านองค์กรแรงงานและนักศึกษา ประมาณ 250 คน อาทิ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย, อุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ, กลุ่มกรรมกรปฏิรูปและกลุ่มประกายไฟที่รวมตัวกันภายใต้ชื่อ องค์การความร่วมมือแก้วิกฤตแรงงาน (ควร.) ที่ใช้แถบผ้าสีแดงมีข้อความ “หยุดทุนนิยม สร้างสังคมรัฐสวัสดิการ” คาด ศีรษะ ใช้รถบรรทุกเป็นเวทีผลัดกันขึ้นปราศรัย โดยเ้รียกร้องให้ผลักดันประเทศไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการคือเป็นสังคมที่ให้ หลักประกันในทุกด้านอย่างถ้วนหน้าและครบวงจร โดยใช้งบประมาณจากภาษีที่ดิน ภาษีมรดก และภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า รวมถึงยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ทั้ง ยังเสนอให้มีพรรคการเมืองที่เป็นของแรงงานเอง เพื่อเข้าไปมีส่วนกำหนดนโยบายรัฐโดยตรงและเพื่อให้การศึกษาแก่มวลชน นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมแสดงละครสะท้อนปัญหาแรงงานหญิงและพิธีรดน้ำศพหุ่นนายกฯ โดยมีนัยว่านายกฯ ไม่แก้ปัญหาเท่ากับได้ตายไปแล้ว และโยนหุ่นเข้าไปในทำเนียบทางประตู 5 ด้วย

Understanding Thailand



มหกรรมประชาชนอาเซียน : ทำความเข้าใจประเทศไทย



20 ก.พ.52 ในงานมหกรรมประชาชนอาเซียน ที่จุฬาฯ ซึ่งเป็นเวทีคู่ของภาคประชาสังคมของประเทศในอาเซียน ก่อนจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปลายเดือนนี้ ช่วงบ่ายมีเวทีว่าด้วยเรื่องทำความเข้าใจประเทศไทยในหลายมิติ โดยมีวิทยากรคือ จอน อึ๊งภากรณ์, สุนี ไชยรส, ประทิณ เวคะวากยานนท์, อาเต็ป โซ๊ะโก และมีสุริชัย หวันแก้ว เป็นผู้ดำเนินรายการ

จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษา กป.อพช. กล่าวว่า ประเทศไทยก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่มากและกระจายอยู่ ย้อนประวัติศาสตร์ไปเมื่อปี 2475 มี การปฏิวัติประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันก็มีกลไกทางทหารเข้ามา และทหารเป็นกองกำลังที่ไม่รับผิดชอบต่ออะไรทั้งสิ้น กระทั่งปัจจุบันบทบาทของทหารในจังหวัดทางใต้ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าไป จัดการ ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ระบบอุปถัมภ์หยั่งรากลึก และทุกฝ่ายพยายามจะใช้สถาบันกษัตริย์รับใช้เป้าประสงค์ของตัวเอง ในด้านของนักการเมือง ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นตัวแทนคนจน แต่มาจากมาเฟียในชนบท ไม่ต่างไปจากประเทศอื่น นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ของไทยก็มีทั้งที่แล้วร้ายอย่างการสนับสนุนสหรัฐไป ทิ้งระเบิด ฆ่าประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรม

จอนกล่าวถึงภาพการเมืองก่อนทศวรรษ 1970 ที่มีประชาชน ปัญญาชน ที่เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก จนกระทั่งสถานการณ์คลี่คลายมีการอภัยโทษให้กับคนเข้าร่วม พคท. กลับสู่เมือง จากนั้นในช่วงปี 2523 มีการเจริญเติบโตของเอ็นจีโออย่างใหญ่หลวง แม้ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติ แต่อาจเรียกได้ว่า ขบวนการปฏิรูปสังคม มีความพยายามร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ผลักดันเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ส่วนช่วงทศวรรษนี้ประชาสังคมไทยได้ต่อสู้ยับยั้งไม่ให้รัฐบาลลงนามเอฟทีเอ กับสหรัฐ โดยมีคนนับหมื่นคนเดินบนถนนเชียงใหม่ แม้ว่าเราไม่สามารถยับยั้งการเซ็นเอฟทีเอกับจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรได้ก็ตาม นอกจากนี้เรายังเน้นการต่อสู้เพื่อให้มีรัฐสวัสดิการ โดยขณะนี้ประเทศไทยมีประกันสุขภาพถ้วนหน้า เงินหลังเกษียณ การข้าถึงการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย รวมถึงหลักประกันรายได้ให้กับคนตกงาน และเริ่มมีการพูดถึงการปฏิรูปที่ดิน

จอนกล่าวด้วยว่า ประมาณ 3-4 ปีก่อนไม่มีความขัดแย้งกันในภาคประชาสังคม แต่สถานการณ์การเมืองนับตั้งแต่ปี 2549 ทำ ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาก เพราะรัฐบาลทักษิณซึ่งได้รับเลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตยได้ทำโครงการ สนับสนุนคนยากจน ขณะที่ปกครองประเทศแบบให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจขนาดใหญ่และมีการละเมิดสิทธิ มนุษยชนหลายเรื่อง ดังนั้น ภาคประชาสังคมจึงไม่ได้ประณามเมื่อเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร และนี่เป็นปมความแตกแยกในหมู่ภาคประชาสังคมที่ดำรงอยู่จนปัจจุบัน

“ส่วน ความขัดแย้งระหว่างเสื้อสีแดงและเหลืองนั้นทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าตนต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย โดยทั้งสองฝ่ายต่างมีอุดมการณ์ตัวเองชัดเจน แต่ทั้งสองฝ่ายยังถูกชักใยโดยคนมีอำนาจเบื้องหลัง ภาคประชาสังคมแทนที่จะเป็นอิสระกลับต้องไปอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของพวกเรา พวกเราต้องเป็นอิสระ ไม่สามรถเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้” จอนกล่าว

สำหรับ ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้ จอนกล่าวว่าคือ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรื่องเสรีภาพในการพูดถึงสถาบันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะปัจจุบันนี้มีคนหลายคนที่อยู่ในคุกหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแม้ ว่าจะใช้เสรีภาพในการพูด ประเด็นนี้ถูกใช้เป็นอาวุธของทั้งกลุ่มเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง

จอนกล่าวว่า เราต่างอยู่ในประเทศที่ละเมิด HR ขึ้นอยู่กับว่าประเภทการละเมิดเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลประโยชน์ร่วมของเราที่ต้องผลักดันมีกลไกสิทธิมนุษยชน ที่มีความเข้มแข็ง โดยเราจำเป็นต้องดูว่ามีประเด็นอะไรที่จะสามารถทำงานร่วมกัน บ้าง เช่น เรื่องพม่าควรเป็นประเด็นสำคัญหลัก อาเซียนต้องมีบทบาทในการเขี่ยรัฐบาลทหารพม่าออกไปได้แล้ว



อาเต็ป โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กล่าวว่า เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ไทยทุกคนมักนึกถึงสมัยกรุงสุโขทัย แต่ในความเป็นจริง รัฐไทยเกิดขึ้นหลังไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาต่างๆ ในชายขอบของประเทศ เรามักคิดว่า ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเรื่องของฝ่ายเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง เรื่องของอำมาตยาธิปไตยกับทุนนิยม หรือก่อนหน้านี้มีปัญหาคอมมิวนิสต์ แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่การก่อตั้งรัฐไทยสมัยใหม่จนปัจจุบัน ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขคือ ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้

เขากล่าวว่า สภาพการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นำโดยคณะราษฎร ซึ่งเ้ป็นปัญญาชนที่หวังนำพาประเทศไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และมีสิทธิเสรีภาพดังนานาประเทศ แต่ 70 กว่าปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยไทยยังล้มลุกคลุกคลานไม่ได้สวยหรูกว่าประเทศใดในอาเซียน โดยกลุ่มอำมาตยาธิปไตยซึ่งเป็นชนชั้นนำในประเืทศมีลักษณะดูหมิ่นชนชั้นล่าง ว่ายังไม่มีความพร้อม ไ่ม่มีความรู้ในระบอบประชาธิปไตย มีการผลิตองค์ความรู้ให้ประชาชนเป็นเพียงทาส-ไพร่ที่คอยรับคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้พัฒนากระบวนการประัชาธิปไตยให้ประชาชนได้เรียนรู้การเมืองและสิทธิทาง การเมือง ทำให้อำนาจนอกระบบมีอิทธิพลเหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชน ดังที่ผ่านมา ระบอบข้าราชการ คณะทหารได้ใช้อำนาจล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเจตจำนงของประชาชนโดยไม่ละอายต่อประชาชนเลย โดยดูแคลนและกล่าวอ้างว่า ประชาชนชั้นล่างยังมีความรู้เรื่องประชาธิปไตยไม่ดีพอจึงซื้อสิทธิขายเสียง

ใน ฐานะที่เป็นคนในจังหวัดชายแดนใต้ อาเต็ปกล่าวว่า หลายรัฐบาลล้วนอ้างว่า ปัญหาในชายแดนใต้เป็นปัญหาทางประวัติศาสตร์สั่งสมมาหลายร้อยปี รัฐบาลปัจจุบันยังพูดว่าการแก้ปัญหาคงไม่สำเร็จในรัฐบาลนี้ ซึ่งนี่ทำให้ประชาชนหดหู่ มีการสำรวจชี้ว่าคนไทยไม่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของ จังหวัดชายแดนใต้เลย ไม่ต้องพูดถึงอาเซียน ขณะที่พื้นที่ในสามจังหวัดไม่ได้เป็นของสยามมาก่อน ประชาชนมีเชื้อชาติและศาสนาที่ต่างไป แต่บางคนคิดว่าเป็นการย้ายเข้ามาในปัตตานี ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงไม่จริงใจไปด้วย เพราะรัฐทำตามอารมณ์ความรู้สึกของพลเมืองในประเืทศ และรัฐไทยยังยึดเอาวัฒนธรรมภาคกลางเป็นแกน ไม่เหลือพื้นที่ให้ตัวตนและชาติพันธุ์้ที่มีอยู่เดิม ด้านการบริหาร รัฐไทยไม่เคยเปิดโอกาสให้ประชาชนเจ้าของพื้นที่มีส่วนบริหาร หรือกำหนดชะตากรรมของตนเอง ในเรื่องการแบ่งสรรทรัพยากรว่าควรเป็นอย่างไร ทั้งที่จังหวัดชายใต้ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ แต่คนในจังหวัดกลับไม่ได้ผลประโยชน์

เรื่อง ความรุนแรงนั้น ตั้งแต่มีเหตุการณ์ปล้นปืน เหตุการณ์ในชายแดนใต้รุนแรงขึ้น โดยเข้าใจกันว่าเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอาเต็ปมองว่า รัฐบาลทักษิณมีส่วนในการขยายความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่ 47-49 อย่าง ไรก็ตาม เรื่องที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ในช่วงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร (ในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ) อยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาหนึ่งในสี่ของรัฐบาลทักษิณ แต่มีคนถูกซ้อมทรมานมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เสียอีก

อา เต็ป ยังได้วิจารณ์หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอาเซียนด้วยว่า อาเซียนร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อพูดถึงการละเมิดสิทธิ กลับอ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ และว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งเขามองว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชน

ประทิน เวตะวากยานนท์ เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวถึงปัญหาคนจนทั้งประเทศว่า ทุนสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงปี 2504 ซึ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรในแบบเดิมมาเป็นทุนสมัยใหม่ซึ่งเป็นเกษตร แบบเชิงเดี่ยวที่เน้นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ทำให้เกษตรกรขาดทุน เป็นหนี้สิน เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต่างๆ เช่นเรื่อง ปุ๋ย สารเคมี มีราคาสูง ขณะที่ผลผลิตมีราคาขึ้นลง สุดท้ายที่ดินที่เกษตรกรมีอยู่ก็ต้องหลุดมือไป อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมด้านเกษตรเต็มที่ แต่ไปส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า มีการดึงเอาแรงงานที่ไม่มีฝีมือมาใช้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ มีการกดค่าแรง พี่น้องแรงงานจึงต้องมีการเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงทุกปี นอกจากนั้นในเรื่องของสวัสดิการแรงงานก็ไม่ได้รับเต็มที่ การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เกิดแรงงานนอกระบบที่มาจากภาคเกษตรจำนวนมาก กลายเป็นสลัมขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหาสลัมนั้นเกิดจากการไม่มีความมั่นคงในที่ดินหรือที่อยู่อาศัย เพราะจากการที่ค่าแรงถูกก็ทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่มีกำลังที่จะไปซื้อที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย ทำให้ต้องหาพื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่ที่มั่นคงมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาในสลัมที่มีมาก

ประทินกล่าวว่า ประเด็นที่สองนโยบายของรัฐที่ทำมาในหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ประมาณการกันว่ามี 10 ล้านคนไม่มีที่ดินทำกินในจำนวนที่พอเพียง ส่วนแรงงานนอกระบบจำนวน 22 ล้านคนขาดสวัสดิการ การดูแลจากรัฐ พวกเขาเหล่านั้นไม่มีเงินเดือน มีรายได้ที่ไม่แน่นอน บางคนอยากจะไปทำประกันสังคมเพื่อเป็นหลักประกันให้กับตนเอง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่อนุญาต

ในส่วนของคนจนเมืองหรือว่าคนในสลัมมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ และยังเกิดกลุ่มคนไร้บ้าน บางคนครอบครัวที่ล่มสลายต้องออกมานอนในพื้นที่สาธารณะซึ่งถือว่าเป็นปัญหา ที่หนัก คาดว่าในกรุงเทพมีประมาณ 2000 คน c]tทั่วประเทศมีประมาณ 5000 คน ส่วนคนที่อยู่ชายขอบกว่านั้น เช่น ชนเผ่ามอร์แกน หรือว่าคนที่ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ยิ่งมีชีวิตที่ยากลำบาก

ประทิน กล่าวว่า ประเด็นที่สามในเรื่องทิศทางการทำงานของภาคประชาชน มีการรวมตัวของแต่ละเครือข่ายปัญหา เช่น สมัชชาคนจน เราพยายามที่จะเคลื่อนไหวต่อรองถึงในขั้นของนโยบาย เช่นเรื่องของที่ดิน ส่วนในระดับที่ใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นก็มีการเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องการเปิดการ ค้าเสรี เรื่องการขายรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประชาชน



สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ ความเห็นต่อสถานการณ์ไทยว่า จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้นแต่เศรษฐกิจ การค้าเพื่อการส่งออก และการพัฒนาอย่างหนักในภาคอุตสาหกรรม นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย และด้วยโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่ซับซ้อนและการพัฒนาเช่นนี้ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ดี การพัฒนาจะต้องนำมาซึ่งประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน สามสิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน แม้ว่าประเทศไทยจะมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมายาวนาน แต่ก็ยังคงมีปัญหา เช่น สถานการณ์รัฐประหาร การมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และสังคมที่มีความคิดที่แตกต่างหลากหลายอย่างมาก ณ เวลานี้ เห็นว่าปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตย เป็นด่านใหญ่ เพราะประชาธิปไตยไทยกำลังถอยหลัง

“ปัญหา ด้านกระบวนการยุติธรรมและเสรีภาพของประชาชน ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีการใช้กฎอัยการศึก รัฐไทยและประชาคมอาเซียนจะมีกลไกหรือมาตรการใดที่จะดูแล ป้องกันไม่ให้มีคนสูญเสียไปมากกว่านี้ได้อย่างไร ด้านคณะกรรมสิทธิ์มนุษยชนของไทยเองก็มีการรายงาน ถึงเรื่องที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด นั่นคือการไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่แม้ว่าข้อบัญญัติในกระบวนการยุติธรรมนั้นเขียนไว้ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติก็ยังพบการละเมิดสิทธิ การทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาอยู่นั่นเอง” สุนีกล่าว

นอก จากนี้ สุนี กล่าวต่อว่า ในยุคแห่งโลกาภิวัตน์นี้ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน กลายเป็นจุดแย่งชิงทรัพยากรจากการลงทุนต่างชาติที่มาพร้อมกับโจทย์หลักคือ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่นั่นนำมาซึ่งการแย่งชิงฐานทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า แร่ ฯลฯ ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ถึงแม้ว่าไทยจะมีรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้า อ้างถึงหลักการการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน แต่เรากลับพบคนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเป็นร้อย เป็นพันคน แล้วรัฐจัดการกับชาวบ้านหนักมาก เช่น กรณีปัญหาความขัดแย้งที่ดินที่รุกป่า มีการฟ้องข้อหาการบุกรุกป่าซึ่งเป็นคดีอาญา และเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่ง

ประเด็น ที่สำคัญถัดมาคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างโรงไฟฟ้า การสร้างเขื่อน ฯลฯ โครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นไปเพื่อการพัฒนาด้านสังคมเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่กลับเป็นความเจ็บปวดร่วมกันของพี่น้องประชาชนในภูมิภาคอาเซียน ส่วนสถานการณ์แรงงานในขณะนี้ยังคงมีการเอารัดเอาเปรียบกันอย่างมาก ขณะที่รัฐไทยก็ดูแลแรงงานต่างชาติไม่ดี

“สถานการณ์ นี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่ประเทศหนึ่งประเทศใด ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ก็ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ไปยังประเทศอื่นๆ แต่จะทำอย่างไรให้มีการปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ให้ดีขึ้น คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น”สุนีกล่าว

สุ นี เสนอทางออกเบื้องต้นว่า ในส่วนของประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม และต่อสู้เรียกร้อง คัดค้าน โครงการที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งในประเทศไทย และต่อประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่นกรณีการแย่งชิงฐานทรัพยากรจากประเทศเพื่อนบ้าน – นายทุนไทยไปลงทุนในลาว พม่า กัมพูชา ในโครงการสร้างเขื่อนพลังงานน้ำ ประชาชนในทุกประเทศต้องลุกขึ้นสู้ด้วยกัน

“ไม่ เพียงเท่านั้น ประเด็นปัญหาด้านแรงงาน ในกฎบัตรอาเซียนก็มีการระบุถึงกลไกสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ดำเนินการยังทำได้ไม่ดีนัก ซึ่งก็ต้องผลักดันกันต่อไป ส่วนด้านความร่วมมือและสร้างกลไกการคุ้มครองประชาชนในกลุ่มต่างๆ เรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนนี้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศอา เซียนทุกประเทศ ไม่ใช่แค่มีแล้ว ทุกอย่างจะดีสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยก็เป็นการบันทึกการต่อสู้ของภาคประชาชนที่จะได้รับรับรอง คุ้มครอง มีสิทธิเสรีภาพ ในทุกมิติ” สุนีกล่าวปิดท้าย



หลังจบการเสวนาบนเวที ผู้ดำเนินรายการได้เปิดรับความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม โดย ชาวโรฮิงญาที่อยู่ในประเทศไทยคนหนึ่ง กล่าวว่า การ ที่รัฐบาลพม่าออกมาให้ข่าวว่าชาวโรฮิงยาไม่ใช่คนของประเทศพม่า ทั้งที่รัฐอาระกันใช้ธงชาติของประเทศพม่า ถูกทำร้ายโดยทหารพม่า ไม่มีทั้งโรงเรียนและสถานพยาบาล เป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม



ตัวแทนจากมูลนิธินิปปอน ซึ่งทำวิจัยในไทยกล่าวว่า ตน เองมาจากมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และเสนอว่าผู้หญิงในภาคใต้น่าจะมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพได้ นอกจากนี้ยังฝากประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ของผู้หญิงไทยเพื่อความเท่าเทียม เสมอภาค



ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ จากสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า อนาคตหวังว่าจะได้มีสภาพัฒนาการเมืองแห่งอาเซียนให้ได้ถกเถียงเรียนรู้ ส่วนในเรื่องอาเซียน ซึ่งมีการพูดเรื่องเดียวกันนี้มากว่า 10 ปี แล้ว แม้จะมีการพัฒนามากขึ้นและที่ผ่านมาปัญหาถูกรับรู้กว้างขวางมากขึ้น แต่ทำไมไม่คุยเรื่องการร่วมมือกันเองแทนการเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นคนแก้ และฝากด้วยว่านักศึกษาจะมีบทบาทอย่างไรในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน



ปกป้อง ลาวัณย์ศิริ จากฟอรั่ม เอชีย กล่าวว่า รัฐบาล โดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบัน หากคนนอกมองจะนึกถึงด้านบวกในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่ความจริงเป็นเพียงแค่คำพูด ยกตัวอย่างกรณีโรฮิงญาที่รัฐไทยโดยการนำของนายกอภิสิทธิ์ ไม่ให้การรับรองในฐานะผู้อพยพ ทั้งที่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆ นอกจากนี้ในก่อนหน้านี้ประชาธิปัตย์ยังผลักดันปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งขัดหลักนิติธรรม ส่วนที่จอนพูดการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่มีปัญหา คิดว่าปัญหาใหญ่ที่สุดคือการที่ภาคประสังคมส่วนใหญ่สนับสนุนพันธมิตรฯ ซึ่งได้ยึดสนามบินสร้างความเสียหายเศรษฐกิจไทยอย่างมาก และดังนั้นพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวในนามภาคประชาสังคมจะสร้างปัญหาภาพลักษณ์ด้านลบให้กับภาคประชา สังคม



ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา จากกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า องค์กร สิทธิมนุษยชนในอาเซียนมีหน้าที่เหมือนเป็นเพียงที่ปรึกษาของอาเซียน ทั้งที่น่าจะมีอำนาจตรวจสอบไม่ใช่แค่ให้ความเห็น นอกจากนี้ข้อบัญญัติของอาเซียน ที่ห้ามแทรกแซงกิจการทางการเมืองของประเทศสมาชิก ควรเรียกร้องผลักดันรัฐบาลของแต่ละประเทศให้ยกเลิกข้อนี้ให้ได้เพราะมันทำ ให้เกิดการกดขี่และละเมิดสิทธิแรงงาน



ตัวแทนกลุ่มผู้ติดเชื้อจากประเทศไทย กล่าวถึงการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะการเข้าถึงยาของแรงงานข้ามชาติ จะทำอย่างไรให้เข้าถึงได้ทุกคนไม่ว่าจะไปอยู่ในประเทศไหน

เจรจายุติ 193 แรงงานจ้างเหมาสระบุรีได้กลับเข้าทำงาน




หลังจากกลุ่มประสานงานกรรมกร (กปก.) ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้คนงานจ้างเหมาซึ่งทำงานในบริษัท รอยัล ปอร์ชเลน จำกัด (มหาชน) หรือ RPC จังหวัด สระบุรี ที่มี กบข.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จนบรรลุในข้อตกลงและมีการนัดจ่ายเงินให้กับลูกจ้างเมื่อวันที่ 25 ก.พ. แต่ต่อมา กปก.ระบุว่า บริษัทผู้รับเหมาค่าแรงได้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าว รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายแต่อย่างใด ทาง กปก.จึงนัดรวมตัวกันเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งในที่สุด มีการตกลงกันให้มีการเจรจา 2 ฝ่าย ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สระบุรี ในวันที่ 2 มี.ค. เวลา 13.00 น. ขณะเดียวกัน บริษัทผู้รับเหมาค่าแรงได้ติดประกาศห้ามพนักงานจ้างเหมาซึ่งร่วมชุมนุมในวัน ดังกล่าว 193 คนเข้าทำงาน



ล่าสุด (2 มี. ค.) กลุ่มประสานงานกรรมกร พร้อมด้วยนักศึกษาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้ร่วมชุมนุมเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมาย และการแก้ไขปัญหาการจ้างงานของคนงานจ้างเหมา ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ที่หน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี



นายฉัตรชัย ไพยเสน ผู้ประสานงานกลุ่มประสานงานกรรมกร ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อเวลา 13.00 – 15.30 น. ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี ได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการทำงาน โดยมีนางนฤมล ปาลวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วน ราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด (มหาชน) บริษัท ภัสสรเทเลคอม แอนด์ ซัพพลาย จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เลิศทรัพย์ และผู้แทนลูกจ้าง



โดย ผลการประชุมได้ข้อสรุปว่า กรณีลูกจ้าง 193 คน บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกจ้างทั้ง 193 คน กลับเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 52 เป็นต้นไป โดยบริษัท ภัสสร เทเลคอมแอนด์ ซัพพลาย จำกัด และห้างหุ้นส่วน ส.เลิศทรัพย์ จะจ่ายค่าจ้างในวันที่ให้หยุดงานระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 52 และ 1 มีนาคม 52 ให้กับลูกจ้าง 193 คน 75% ภายในวันที่ 10 มีนาคม 52 แต่ไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 52



กรณีการ เลิกจ้างลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ จำนวน 2 คน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เลิศทรัพย์ จะรับลูกจ้างทั้งสองรายกลับเข้าทำงาน โดยให้ทำงานในสำนักงานของห้างหุ้นส่วน



กรณีการ จ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน บริษัทฯ ผู้รับเหมาค่าแรง ตกลงจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้ารวม 30 วัน ตามข้อตกลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 52 ซึ่งลูกจ้างได้รับไปแล้ว 24 วัน เหลือ 4 วัน นายจ้างจะจ่ายให้ในวันที่ 3 มีนาคม 52 ส่วนลูกจ้างที่ตกหล่นจำนวน 10 คน ที่ได้รับเงินตามมาตรา 75 บางส่วนแล้ว ให้ไปรับในวันที่ 3 มีนาคม 52 พร้อมรับเงินที่เหลือ 4 วันด้วย ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี



สำหรับ การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของนายจ้างต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ที่ประชุมมีมติว่า บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด (มหาชน) ยืนยันที่จะกำกับดูแลให้บริษัทผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ขณะที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบการจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายและ ดำเนินการในเชิงรุก เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบสิทธิตามกฎหมายกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 52 เป็นต้นไป โดยจะเรียกผู้ประกอบการทั้ง 86 แห่ง มาชี้แจง



กรณี ลูกจ้างร้องว่าได้รับการข่มขู่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีจะดำเนินการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน โดยมอบหมายให้เลขานุการ รองฯ เป็นผู้รับผิดชอบและสามารถร้องเรียนได้ที่ โทร. 0-3622-3170



นายจ้างจ่ายเงินระหว่างที่ให้หยุดงานระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 51 – 28 กุมภาพันธ์ 52 ตามมาตรา 75 วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันลาป่วย โดยจะจ่ายให้ลูกจ้างไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 52



นาย จ้างจะจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยรวมถึงสวัสดิการตามมาตรา 11/1 ให้กับลูกจ้างทั้งหมด และนายจ้างจะปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจะดูแลลูกจ้างที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานทั้ง หมด และจะดูแลมิให้มีการปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบื้ยที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด



ทั้ง นี้ นายจ้างตกลงจะไม่เอาความผิดกับลูกจ้าง ทั้งความผิดทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญากับลูกจ้างทั้งหมดและลูกจ้างจะไม่ปฏิบัติขัดต่อกฎหมายแรงงานอีก หากลูกจ้างกระทำการขัดต่อกฎหมายนายจ้างจะดำเนินการตามกฎหมาย



นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบล นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นักศึกษาจาก สนนท. มาร่วมชุมนุมด้วย 10 กว่า คน โดย สนนท.ให้ความสำคัญกับประเด็นแรงงาน เพราะปัญหาเลิกจ้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายกรณีมีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรม



เธอเล่าว่า สนนท. มาช่วยสนับสนุนการเคลื่อนไหวตั้งแต่ตอนมาเรียกร้องที่ กบข. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท RPC เมื่อ เห็นว่าเจรจาผ่าน ก็โล่งใจ แต่ต่อมาเมื่อพบว่ามีการตุกติกก็ต้องช่วยให้ถึงที่สุด ในฐานะนักศึกษาอาจช่วยอะไรไม่ได้มากนัก แต่คิดว่าสามารถช่วยประสานงานในส่วนที่คนงานเข้าไม่ถึงได้ รวมถึงช่วยให้กำลังใจพวกเขา



“ลูกจ้างเหมาไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย ก็อย่าคิดว่าเขาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้” น.ส.สุลักษณ์กล่าว



น. ส.สุลักษณ์กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา รัฐมีกฏหมายและมีอำนาจบังคับได้ แต่เมื่อแรงงานมาร้องเรียนกลับเพิกเฉย เท่ากับว่ามีสองมาตรฐาน พอแรงงานทำผิด ก็ให้ออก แต่เมื่อนายจ้างทำผิด กลับทำเป็นมองไม่เห็น ถือเป็นการกดขี่ทางโครงสร้างแบบหนึ่ง







ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี



วันที่ 2 มีนาคม 2552



วันนี้ระหว่างเวลา 13.00 – 15.30 น. ได้มีการประชุมร่วมปรึกษาหารือ โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (นางนฤมล ปาลวัฒน์) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด (มหาชน) บริษัท ภัสสรเทเลคอม แอนด์ ซัพพลาย จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เลิศทรัพย์ และผู้แทนลูกจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการทำงาน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้



1. กรณีลูกจ้าง 193 คน ที่ยังไม่ได้ทำงาน

ที่ประชุมมีมติร่วมกันว่า

1.1 บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกจ้างทั้ง 193 คน กลับเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 252 เป็นต้นไป

1.2 บริษัท ภัสสร เทเลคอมแอนด์ ซัพพลาย จำกัด และห้างหุ้นส่วน ส.เลิศทรัพย์ จะจ่ายค่าจ้างในวันที่ให้หยุดงานระหว่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 252 และ 1 มีนาคม 2552 ให้กับลูกจ้าง 193 คน ร้อยละ 75% ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2552 แต่ไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2552



2. กรณีการเลิกจ้างลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ จำนวน 2 คน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เลิศทรัพย์ จะรับลูกจ้างทั้งสองรายกลับเข้าทำงาน โดยให้ทำงานในสำนักงานของห้างหุ้นส่วน



3. กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน

บริษัทฯ ผู้รับเหมาค่าแรง ตกลงจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้ารวม 30 วัน ตามข้อตกลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งลูกจ้างได้รับไปแล้ว 24 วัน เหลือ 4 วัน นายจ้างจะจ่ายให้ในวันที่3 มีนาคม 2552 ส่วนลูกจ้างที่ตกหล่นจำนวน 10 คน ที่ได้รับเงินตามมาตรา 75 บางส่วนแล้ว ให้ไปรับในวันที่ 3 มีนาคม 2552 พร้อมรับเงินที่เหลือ 4 วันด้วย ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี



4. การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของนายจ้างต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรง

ที่ประชุมมีมติว่า

4.1 บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด (มหาชน) ยืนยันที่จะกำกับดูแลให้บริษัทผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด

4.2 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบการจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายและดำเนิน การในเชิงรุก เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบสิทธิตามกฎหมายกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป โดยจะเรียกผู้ประกอบการทั้ง 86 แห่ง มาชี้แจง



5. กรณีลูกจ้างร้องว่าได้รับการข่มขู่

ที่ ประชุมโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (นางนฤมล ปาลวัฒน์) จะดำเนินการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนโดยมอบหมายให้เลขานุการ รองฯ นางนฤมล ปาลวัฒน์ เป็นผู้รับผิดชอบและสามารถร้องเรียนได้ที่ โทร. 0-3622-3170



6. นายจ้างจ่ายเงินระหว่างที่ให้หยุดงานระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2551 – 28 กุมภาพันธ์ 2552 ตามมาตรา 75 วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันลาป่วย โดยจะจ่ายให้ลูกจ้างไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2552



7. นายจ้างจะจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยรวมถึงสวัสดิการตามมาตรา 11/1 ให้กับลูกจ้างทั้งหมด



8. นายจ้างจะปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจะดูแลลูกจ้างที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานทั้ง หมด



9.นายจ้างจะดูแลมิให้มีการปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบื้ยที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด



10. นายจ้างตกลงจะไม่เอาความผิดกับลูกจ้าง ทั้งความผิดทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญากับลูกจ้างทั้งหมดและลูกจ้างจะไม่ปฏิบัติขัดต่อกฎหมายแรงงานอีก หากลูกจ้างกระทำการขัดต่อกฎหมายนายจ้างจะดำเนินการตามกฎหมาย



(ลงนาม)