Monday, 9 March 2009

Understanding Thailand



มหกรรมประชาชนอาเซียน : ทำความเข้าใจประเทศไทย



20 ก.พ.52 ในงานมหกรรมประชาชนอาเซียน ที่จุฬาฯ ซึ่งเป็นเวทีคู่ของภาคประชาสังคมของประเทศในอาเซียน ก่อนจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปลายเดือนนี้ ช่วงบ่ายมีเวทีว่าด้วยเรื่องทำความเข้าใจประเทศไทยในหลายมิติ โดยมีวิทยากรคือ จอน อึ๊งภากรณ์, สุนี ไชยรส, ประทิณ เวคะวากยานนท์, อาเต็ป โซ๊ะโก และมีสุริชัย หวันแก้ว เป็นผู้ดำเนินรายการ

จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษา กป.อพช. กล่าวว่า ประเทศไทยก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่มากและกระจายอยู่ ย้อนประวัติศาสตร์ไปเมื่อปี 2475 มี การปฏิวัติประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันก็มีกลไกทางทหารเข้ามา และทหารเป็นกองกำลังที่ไม่รับผิดชอบต่ออะไรทั้งสิ้น กระทั่งปัจจุบันบทบาทของทหารในจังหวัดทางใต้ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าไป จัดการ ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ระบบอุปถัมภ์หยั่งรากลึก และทุกฝ่ายพยายามจะใช้สถาบันกษัตริย์รับใช้เป้าประสงค์ของตัวเอง ในด้านของนักการเมือง ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นตัวแทนคนจน แต่มาจากมาเฟียในชนบท ไม่ต่างไปจากประเทศอื่น นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ของไทยก็มีทั้งที่แล้วร้ายอย่างการสนับสนุนสหรัฐไป ทิ้งระเบิด ฆ่าประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรม

จอนกล่าวถึงภาพการเมืองก่อนทศวรรษ 1970 ที่มีประชาชน ปัญญาชน ที่เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก จนกระทั่งสถานการณ์คลี่คลายมีการอภัยโทษให้กับคนเข้าร่วม พคท. กลับสู่เมือง จากนั้นในช่วงปี 2523 มีการเจริญเติบโตของเอ็นจีโออย่างใหญ่หลวง แม้ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติ แต่อาจเรียกได้ว่า ขบวนการปฏิรูปสังคม มีความพยายามร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ผลักดันเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ส่วนช่วงทศวรรษนี้ประชาสังคมไทยได้ต่อสู้ยับยั้งไม่ให้รัฐบาลลงนามเอฟทีเอ กับสหรัฐ โดยมีคนนับหมื่นคนเดินบนถนนเชียงใหม่ แม้ว่าเราไม่สามารถยับยั้งการเซ็นเอฟทีเอกับจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรได้ก็ตาม นอกจากนี้เรายังเน้นการต่อสู้เพื่อให้มีรัฐสวัสดิการ โดยขณะนี้ประเทศไทยมีประกันสุขภาพถ้วนหน้า เงินหลังเกษียณ การข้าถึงการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย รวมถึงหลักประกันรายได้ให้กับคนตกงาน และเริ่มมีการพูดถึงการปฏิรูปที่ดิน

จอนกล่าวด้วยว่า ประมาณ 3-4 ปีก่อนไม่มีความขัดแย้งกันในภาคประชาสังคม แต่สถานการณ์การเมืองนับตั้งแต่ปี 2549 ทำ ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาก เพราะรัฐบาลทักษิณซึ่งได้รับเลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตยได้ทำโครงการ สนับสนุนคนยากจน ขณะที่ปกครองประเทศแบบให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจขนาดใหญ่และมีการละเมิดสิทธิ มนุษยชนหลายเรื่อง ดังนั้น ภาคประชาสังคมจึงไม่ได้ประณามเมื่อเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร และนี่เป็นปมความแตกแยกในหมู่ภาคประชาสังคมที่ดำรงอยู่จนปัจจุบัน

“ส่วน ความขัดแย้งระหว่างเสื้อสีแดงและเหลืองนั้นทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าตนต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย โดยทั้งสองฝ่ายต่างมีอุดมการณ์ตัวเองชัดเจน แต่ทั้งสองฝ่ายยังถูกชักใยโดยคนมีอำนาจเบื้องหลัง ภาคประชาสังคมแทนที่จะเป็นอิสระกลับต้องไปอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของพวกเรา พวกเราต้องเป็นอิสระ ไม่สามรถเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้” จอนกล่าว

สำหรับ ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้ จอนกล่าวว่าคือ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรื่องเสรีภาพในการพูดถึงสถาบันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะปัจจุบันนี้มีคนหลายคนที่อยู่ในคุกหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแม้ ว่าจะใช้เสรีภาพในการพูด ประเด็นนี้ถูกใช้เป็นอาวุธของทั้งกลุ่มเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง

จอนกล่าวว่า เราต่างอยู่ในประเทศที่ละเมิด HR ขึ้นอยู่กับว่าประเภทการละเมิดเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลประโยชน์ร่วมของเราที่ต้องผลักดันมีกลไกสิทธิมนุษยชน ที่มีความเข้มแข็ง โดยเราจำเป็นต้องดูว่ามีประเด็นอะไรที่จะสามารถทำงานร่วมกัน บ้าง เช่น เรื่องพม่าควรเป็นประเด็นสำคัญหลัก อาเซียนต้องมีบทบาทในการเขี่ยรัฐบาลทหารพม่าออกไปได้แล้ว



อาเต็ป โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กล่าวว่า เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ไทยทุกคนมักนึกถึงสมัยกรุงสุโขทัย แต่ในความเป็นจริง รัฐไทยเกิดขึ้นหลังไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาต่างๆ ในชายขอบของประเทศ เรามักคิดว่า ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเรื่องของฝ่ายเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง เรื่องของอำมาตยาธิปไตยกับทุนนิยม หรือก่อนหน้านี้มีปัญหาคอมมิวนิสต์ แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่การก่อตั้งรัฐไทยสมัยใหม่จนปัจจุบัน ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขคือ ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้

เขากล่าวว่า สภาพการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นำโดยคณะราษฎร ซึ่งเ้ป็นปัญญาชนที่หวังนำพาประเทศไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และมีสิทธิเสรีภาพดังนานาประเทศ แต่ 70 กว่าปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยไทยยังล้มลุกคลุกคลานไม่ได้สวยหรูกว่าประเทศใดในอาเซียน โดยกลุ่มอำมาตยาธิปไตยซึ่งเป็นชนชั้นนำในประเืทศมีลักษณะดูหมิ่นชนชั้นล่าง ว่ายังไม่มีความพร้อม ไ่ม่มีความรู้ในระบอบประชาธิปไตย มีการผลิตองค์ความรู้ให้ประชาชนเป็นเพียงทาส-ไพร่ที่คอยรับคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้พัฒนากระบวนการประัชาธิปไตยให้ประชาชนได้เรียนรู้การเมืองและสิทธิทาง การเมือง ทำให้อำนาจนอกระบบมีอิทธิพลเหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชน ดังที่ผ่านมา ระบอบข้าราชการ คณะทหารได้ใช้อำนาจล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเจตจำนงของประชาชนโดยไม่ละอายต่อประชาชนเลย โดยดูแคลนและกล่าวอ้างว่า ประชาชนชั้นล่างยังมีความรู้เรื่องประชาธิปไตยไม่ดีพอจึงซื้อสิทธิขายเสียง

ใน ฐานะที่เป็นคนในจังหวัดชายแดนใต้ อาเต็ปกล่าวว่า หลายรัฐบาลล้วนอ้างว่า ปัญหาในชายแดนใต้เป็นปัญหาทางประวัติศาสตร์สั่งสมมาหลายร้อยปี รัฐบาลปัจจุบันยังพูดว่าการแก้ปัญหาคงไม่สำเร็จในรัฐบาลนี้ ซึ่งนี่ทำให้ประชาชนหดหู่ มีการสำรวจชี้ว่าคนไทยไม่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของ จังหวัดชายแดนใต้เลย ไม่ต้องพูดถึงอาเซียน ขณะที่พื้นที่ในสามจังหวัดไม่ได้เป็นของสยามมาก่อน ประชาชนมีเชื้อชาติและศาสนาที่ต่างไป แต่บางคนคิดว่าเป็นการย้ายเข้ามาในปัตตานี ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงไม่จริงใจไปด้วย เพราะรัฐทำตามอารมณ์ความรู้สึกของพลเมืองในประเืทศ และรัฐไทยยังยึดเอาวัฒนธรรมภาคกลางเป็นแกน ไม่เหลือพื้นที่ให้ตัวตนและชาติพันธุ์้ที่มีอยู่เดิม ด้านการบริหาร รัฐไทยไม่เคยเปิดโอกาสให้ประชาชนเจ้าของพื้นที่มีส่วนบริหาร หรือกำหนดชะตากรรมของตนเอง ในเรื่องการแบ่งสรรทรัพยากรว่าควรเป็นอย่างไร ทั้งที่จังหวัดชายใต้ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ แต่คนในจังหวัดกลับไม่ได้ผลประโยชน์

เรื่อง ความรุนแรงนั้น ตั้งแต่มีเหตุการณ์ปล้นปืน เหตุการณ์ในชายแดนใต้รุนแรงขึ้น โดยเข้าใจกันว่าเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอาเต็ปมองว่า รัฐบาลทักษิณมีส่วนในการขยายความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่ 47-49 อย่าง ไรก็ตาม เรื่องที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ในช่วงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร (ในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ) อยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาหนึ่งในสี่ของรัฐบาลทักษิณ แต่มีคนถูกซ้อมทรมานมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เสียอีก

อา เต็ป ยังได้วิจารณ์หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอาเซียนด้วยว่า อาเซียนร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อพูดถึงการละเมิดสิทธิ กลับอ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ และว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งเขามองว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชน

ประทิน เวตะวากยานนท์ เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวถึงปัญหาคนจนทั้งประเทศว่า ทุนสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงปี 2504 ซึ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรในแบบเดิมมาเป็นทุนสมัยใหม่ซึ่งเป็นเกษตร แบบเชิงเดี่ยวที่เน้นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ทำให้เกษตรกรขาดทุน เป็นหนี้สิน เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต่างๆ เช่นเรื่อง ปุ๋ย สารเคมี มีราคาสูง ขณะที่ผลผลิตมีราคาขึ้นลง สุดท้ายที่ดินที่เกษตรกรมีอยู่ก็ต้องหลุดมือไป อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมด้านเกษตรเต็มที่ แต่ไปส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า มีการดึงเอาแรงงานที่ไม่มีฝีมือมาใช้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ มีการกดค่าแรง พี่น้องแรงงานจึงต้องมีการเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงทุกปี นอกจากนั้นในเรื่องของสวัสดิการแรงงานก็ไม่ได้รับเต็มที่ การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เกิดแรงงานนอกระบบที่มาจากภาคเกษตรจำนวนมาก กลายเป็นสลัมขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหาสลัมนั้นเกิดจากการไม่มีความมั่นคงในที่ดินหรือที่อยู่อาศัย เพราะจากการที่ค่าแรงถูกก็ทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่มีกำลังที่จะไปซื้อที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย ทำให้ต้องหาพื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่ที่มั่นคงมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาในสลัมที่มีมาก

ประทินกล่าวว่า ประเด็นที่สองนโยบายของรัฐที่ทำมาในหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ประมาณการกันว่ามี 10 ล้านคนไม่มีที่ดินทำกินในจำนวนที่พอเพียง ส่วนแรงงานนอกระบบจำนวน 22 ล้านคนขาดสวัสดิการ การดูแลจากรัฐ พวกเขาเหล่านั้นไม่มีเงินเดือน มีรายได้ที่ไม่แน่นอน บางคนอยากจะไปทำประกันสังคมเพื่อเป็นหลักประกันให้กับตนเอง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่อนุญาต

ในส่วนของคนจนเมืองหรือว่าคนในสลัมมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ และยังเกิดกลุ่มคนไร้บ้าน บางคนครอบครัวที่ล่มสลายต้องออกมานอนในพื้นที่สาธารณะซึ่งถือว่าเป็นปัญหา ที่หนัก คาดว่าในกรุงเทพมีประมาณ 2000 คน c]tทั่วประเทศมีประมาณ 5000 คน ส่วนคนที่อยู่ชายขอบกว่านั้น เช่น ชนเผ่ามอร์แกน หรือว่าคนที่ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ยิ่งมีชีวิตที่ยากลำบาก

ประทิน กล่าวว่า ประเด็นที่สามในเรื่องทิศทางการทำงานของภาคประชาชน มีการรวมตัวของแต่ละเครือข่ายปัญหา เช่น สมัชชาคนจน เราพยายามที่จะเคลื่อนไหวต่อรองถึงในขั้นของนโยบาย เช่นเรื่องของที่ดิน ส่วนในระดับที่ใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นก็มีการเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องการเปิดการ ค้าเสรี เรื่องการขายรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประชาชน



สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ ความเห็นต่อสถานการณ์ไทยว่า จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้นแต่เศรษฐกิจ การค้าเพื่อการส่งออก และการพัฒนาอย่างหนักในภาคอุตสาหกรรม นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย และด้วยโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่ซับซ้อนและการพัฒนาเช่นนี้ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ดี การพัฒนาจะต้องนำมาซึ่งประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน สามสิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน แม้ว่าประเทศไทยจะมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมายาวนาน แต่ก็ยังคงมีปัญหา เช่น สถานการณ์รัฐประหาร การมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และสังคมที่มีความคิดที่แตกต่างหลากหลายอย่างมาก ณ เวลานี้ เห็นว่าปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตย เป็นด่านใหญ่ เพราะประชาธิปไตยไทยกำลังถอยหลัง

“ปัญหา ด้านกระบวนการยุติธรรมและเสรีภาพของประชาชน ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีการใช้กฎอัยการศึก รัฐไทยและประชาคมอาเซียนจะมีกลไกหรือมาตรการใดที่จะดูแล ป้องกันไม่ให้มีคนสูญเสียไปมากกว่านี้ได้อย่างไร ด้านคณะกรรมสิทธิ์มนุษยชนของไทยเองก็มีการรายงาน ถึงเรื่องที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด นั่นคือการไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่แม้ว่าข้อบัญญัติในกระบวนการยุติธรรมนั้นเขียนไว้ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติก็ยังพบการละเมิดสิทธิ การทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาอยู่นั่นเอง” สุนีกล่าว

นอก จากนี้ สุนี กล่าวต่อว่า ในยุคแห่งโลกาภิวัตน์นี้ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน กลายเป็นจุดแย่งชิงทรัพยากรจากการลงทุนต่างชาติที่มาพร้อมกับโจทย์หลักคือ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่นั่นนำมาซึ่งการแย่งชิงฐานทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า แร่ ฯลฯ ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ถึงแม้ว่าไทยจะมีรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้า อ้างถึงหลักการการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน แต่เรากลับพบคนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเป็นร้อย เป็นพันคน แล้วรัฐจัดการกับชาวบ้านหนักมาก เช่น กรณีปัญหาความขัดแย้งที่ดินที่รุกป่า มีการฟ้องข้อหาการบุกรุกป่าซึ่งเป็นคดีอาญา และเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่ง

ประเด็น ที่สำคัญถัดมาคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างโรงไฟฟ้า การสร้างเขื่อน ฯลฯ โครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นไปเพื่อการพัฒนาด้านสังคมเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่กลับเป็นความเจ็บปวดร่วมกันของพี่น้องประชาชนในภูมิภาคอาเซียน ส่วนสถานการณ์แรงงานในขณะนี้ยังคงมีการเอารัดเอาเปรียบกันอย่างมาก ขณะที่รัฐไทยก็ดูแลแรงงานต่างชาติไม่ดี

“สถานการณ์ นี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่ประเทศหนึ่งประเทศใด ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ก็ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ไปยังประเทศอื่นๆ แต่จะทำอย่างไรให้มีการปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ให้ดีขึ้น คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น”สุนีกล่าว

สุ นี เสนอทางออกเบื้องต้นว่า ในส่วนของประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม และต่อสู้เรียกร้อง คัดค้าน โครงการที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งในประเทศไทย และต่อประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่นกรณีการแย่งชิงฐานทรัพยากรจากประเทศเพื่อนบ้าน – นายทุนไทยไปลงทุนในลาว พม่า กัมพูชา ในโครงการสร้างเขื่อนพลังงานน้ำ ประชาชนในทุกประเทศต้องลุกขึ้นสู้ด้วยกัน

“ไม่ เพียงเท่านั้น ประเด็นปัญหาด้านแรงงาน ในกฎบัตรอาเซียนก็มีการระบุถึงกลไกสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ดำเนินการยังทำได้ไม่ดีนัก ซึ่งก็ต้องผลักดันกันต่อไป ส่วนด้านความร่วมมือและสร้างกลไกการคุ้มครองประชาชนในกลุ่มต่างๆ เรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนนี้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศอา เซียนทุกประเทศ ไม่ใช่แค่มีแล้ว ทุกอย่างจะดีสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยก็เป็นการบันทึกการต่อสู้ของภาคประชาชนที่จะได้รับรับรอง คุ้มครอง มีสิทธิเสรีภาพ ในทุกมิติ” สุนีกล่าวปิดท้าย



หลังจบการเสวนาบนเวที ผู้ดำเนินรายการได้เปิดรับความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม โดย ชาวโรฮิงญาที่อยู่ในประเทศไทยคนหนึ่ง กล่าวว่า การ ที่รัฐบาลพม่าออกมาให้ข่าวว่าชาวโรฮิงยาไม่ใช่คนของประเทศพม่า ทั้งที่รัฐอาระกันใช้ธงชาติของประเทศพม่า ถูกทำร้ายโดยทหารพม่า ไม่มีทั้งโรงเรียนและสถานพยาบาล เป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม



ตัวแทนจากมูลนิธินิปปอน ซึ่งทำวิจัยในไทยกล่าวว่า ตน เองมาจากมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และเสนอว่าผู้หญิงในภาคใต้น่าจะมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพได้ นอกจากนี้ยังฝากประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ของผู้หญิงไทยเพื่อความเท่าเทียม เสมอภาค



ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ จากสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า อนาคตหวังว่าจะได้มีสภาพัฒนาการเมืองแห่งอาเซียนให้ได้ถกเถียงเรียนรู้ ส่วนในเรื่องอาเซียน ซึ่งมีการพูดเรื่องเดียวกันนี้มากว่า 10 ปี แล้ว แม้จะมีการพัฒนามากขึ้นและที่ผ่านมาปัญหาถูกรับรู้กว้างขวางมากขึ้น แต่ทำไมไม่คุยเรื่องการร่วมมือกันเองแทนการเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นคนแก้ และฝากด้วยว่านักศึกษาจะมีบทบาทอย่างไรในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน



ปกป้อง ลาวัณย์ศิริ จากฟอรั่ม เอชีย กล่าวว่า รัฐบาล โดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบัน หากคนนอกมองจะนึกถึงด้านบวกในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่ความจริงเป็นเพียงแค่คำพูด ยกตัวอย่างกรณีโรฮิงญาที่รัฐไทยโดยการนำของนายกอภิสิทธิ์ ไม่ให้การรับรองในฐานะผู้อพยพ ทั้งที่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆ นอกจากนี้ในก่อนหน้านี้ประชาธิปัตย์ยังผลักดันปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งขัดหลักนิติธรรม ส่วนที่จอนพูดการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่มีปัญหา คิดว่าปัญหาใหญ่ที่สุดคือการที่ภาคประสังคมส่วนใหญ่สนับสนุนพันธมิตรฯ ซึ่งได้ยึดสนามบินสร้างความเสียหายเศรษฐกิจไทยอย่างมาก และดังนั้นพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวในนามภาคประชาสังคมจะสร้างปัญหาภาพลักษณ์ด้านลบให้กับภาคประชา สังคม



ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา จากกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า องค์กร สิทธิมนุษยชนในอาเซียนมีหน้าที่เหมือนเป็นเพียงที่ปรึกษาของอาเซียน ทั้งที่น่าจะมีอำนาจตรวจสอบไม่ใช่แค่ให้ความเห็น นอกจากนี้ข้อบัญญัติของอาเซียน ที่ห้ามแทรกแซงกิจการทางการเมืองของประเทศสมาชิก ควรเรียกร้องผลักดันรัฐบาลของแต่ละประเทศให้ยกเลิกข้อนี้ให้ได้เพราะมันทำ ให้เกิดการกดขี่และละเมิดสิทธิแรงงาน



ตัวแทนกลุ่มผู้ติดเชื้อจากประเทศไทย กล่าวถึงการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะการเข้าถึงยาของแรงงานข้ามชาติ จะทำอย่างไรให้เข้าถึงได้ทุกคนไม่ว่าจะไปอยู่ในประเทศไหน

No comments: