Sunday, 2 November 2008
Wednesday, 15 October 2008
สนนท. และ ประกายไฟ เสวนา: ประเทศไทยต้องเลือกนายกโดยตรง
12ต.ค.51 - เมื่อเวลา 13.00 น. กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและกลุ่มประกายไฟ ได้เปิดเวทีเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้ เรื่อง “ประเทศไทยต้องเลือกนายกฯโดยตรง” โดยมี นายบัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี กลุ่มประกายไฟ นายอาเต๊ฟ โซ๊ะโกะเลขาธิการ สนนท. และ นายพรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องหนังแห่งประเทศไทย เป็นผู้เปิดประเด็น ดำเนินรายการโดย นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ณ ห้องประชุม 12 ตึกเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นาย โชติศักดิ์ อ่อนสูง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเปิดเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะพูดถึงประเด็นที่มาโครงสร้างทางการเมืองหรือโครงสร้างอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง และเพื่อต้องการลงในรายละเอียดของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง นอกจากนี้นายโชติศักดิ์ยังได้ยกบทความของอาจารย์นิธิในเรื่องการเลือกตั้ง นายกโดยตรงมาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมสนทนาอีกด้วย
ซึ่งการเสวนาได้เริ่มจากนายอาเต๊ฟ โซ๊ะโกะ เลขาธิการ สนนท. ได้แจกแจงรายละเอียดในเรื่องระบบประชาธิปไตยก่อนที่จะเข้าถึงในรายละเอียด ของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง ว่าใจความสำคัญของประชาธิปไตยมีหลักใหญ่ๆอยู่ 2 อย่างก็คือ 1.เรื่องอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชนทุกคน2.เรื่อง สิทธิเสรีภาพ เมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้แล้วเราก็จะมาพูดถึงเรื่องการเลือกนายกฯที่มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ซึ่งจริงๆ แล้ว นักวิชาการและผู้ที่ศึกษาเรื่องประชาธิปไตยไม่ได้เห็นแย้งในหลักการเรื่อง นายกฯมาจากการเลือกตั่งโดยตรง แต่ว่าจากที่เราสังเกตกลุ่มบุคคลที่ให้ความเป็นห่วงสิ่งที่ทางเรานำเสนอเป็น เรื่องของการที่เราสามารถจะใช้การเลือกตั้งในประเทศไทยได้มากน้อยแค่ไหน ผมต้องการที่จะให้ทุกคนพูดถึงประชาธิปไตยอย่างเข้าใจในเจตนารมณ์ของ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือถ้าเกิดว่าเราเข้าใจเจตนาของประชาธิปไตย เราเองก็จะคิดผ่านเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงดังกล่าวได้โดยง่ายขึ้น
ด้านนายบัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ได้กล่าวถึงข้อเสนอ ใน6 ข้อ ของกลุ่มประกายไฟซึ่งประกอบไปด้วย การเลือกตั้งนายกโดยตรง การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค การเก็บภาษีก้าวหน้า การยกเลิกภาษีทางอ้อม การสร้างรัฐสวัสดิการ และยกเลิกงบประมาณทางด้านทหาร ทั้ง6ข้อนี้ต้องไปด้วยกัน ซึ่งตลอด 10ปี ที่มีการถกเถียงในเรื่องจะสร้างระบบการเมืองแบบใด จะจัดตั้งรัฐบาลแบบใด ที่จะไม่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งหรืออ่อนแอจนเกินไป การถกเถียงดังกล่าวเป็นการถกเถียงในเรื่องรัฐสภาของชนชั้นนายทุน เป็นการถกเถียงการแบ่งผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนว่าจะจัดสรรให้นายทุนอยู่ใน ระบบแบบใดเพื่อที่จะสอดคล้องกันได้ดี
แต่ ในเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นไม่ถึงกับจะเกิดรัฐสวัสดิการขึ้นได้ใน ทันที แต่จะเป็นปัจจัยหนึ่งอาจจะเอื้อให้เกิดรัฐสวัสดิการขึ้นมาได้ นายบัษฐรัมย์ ได้ให้โมเดลว่าถ้ามีการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นจะเอื้อต่อผลประโยชน์ของชน ชั้นล่างได้อย่างไร นั้นคือ 1. การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงจะให้อำนาจกับประชาชนในการควบคุมทิศทางของรัฐบาลซึ่งจะแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 2.การ ถอดถอนนายกจะมาจากการทำประชามติเท่านั้นซึ่งประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการ ตัดสิน ซึ่งการทำประชามติจะไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเพราะในข้อเสนอทั้งหกข้อจะ เอื้อกันอยู่ นั้นก็คือการตัดงบประมาณทางด้านทหารมาใช้ในการทำประชามติจึงไม่ถือว่าเป็น การสิ้นเปลืองเมื่อตัดงบประมาณด้านทหารออก และถ้าถามว่าการเลือกตั้งนายกโดยตรงจะไปกระทบและสร้างความตึงเครียดกับ ประมุขของรัฐหรือเปล่าแน่นอนว่าต้องกระทบ แต่เมื่อพูดถึงในแง่รูปธรรมของการเมืองไทยก็ต้องพูดกันตามเนื้อหาของรัฐ ธรรมนูญที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ไทยต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้กฎหมาย ซึ่งถ้าใครดึงเอาพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองก็จะผิดรัฐ ธรรมนูญ กษัตริย์สามารถอยู่ได้ในฐานะสัญลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์
ปิด ท้ายโดยนายพรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่าเห็นด้วยกับหลักการของคุณษัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ที่พูดถึงเรื่องระบบนายกที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งได้พูดถึงโครงสร้าง ซึ่งมันน่าจะเป็นไปได้ และถ้าอยากจะเห็นการเมืองที่มันก้าวหน้าผมคิดว่าประเด็นที่พูดถึงรัฐ สวัสดิการก็เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราสามารถชูประเด็นชูนโยบายเหล่านี้ได้มันก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ประเด็นที่ผมมองว่านายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถ้ามองข้อเสียของการเลือกนายกโดยตรง ณ ขณะนี้เชื่อว่าก็คงลำบาก เพราะว่าถ้าให้โดยตรง แน่นอนพวกนายทุน พวกนี้มันต้องต่อสู้ดิ้นรนที่จะเอาชนะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ เห็นได้จากการเมืองท้องถิ่นเอาง่ายๆแค่เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านกำนัน ซึ่ง กกต. ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าเกิดรู้ว่าคนนี้จ่ายค่าหัว 300 คนนี้ก็ต้อง 400 500 วินาทีสุดก็เป็น 1000 ก็ต้องซื้อ ซึ่งเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านก็นิดเดียวแต่ทำไมถึงกล้าซื้อ ก็เพราะ ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมีอะไรเยอะๆ มันจะมีผลประโยชน์สูง ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขลำบาก ซึ่งถ้าเราจะแก้ไขเรื่องนี้ได้เราจะต้องสร้างหน่ออ่อนทางสังคมนิยมให้มากที่ สุดถ้าเราสร้างได้เราจะแก้ได้ง่าย แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ลำบากนิดหนึ่ง นี้ก็คือข้อเสียที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่โดยตรง มันก็คงที่จะแก้ไข ณ เวลานี้ไม่ได้ แต่อนาคตนั้นผมมองว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน
หลัง จากนั้นมีการให้ข้อเสนอ ของนายวันเฉลิม เปรมปลื้ม พรรคแนวร่วมภาคประชาชน ว่าการเลือกตั้งโดยตรงนั้นถ้ามองในแนวเสรีนิยมต่อไปจะมีขีดจำกันในการ เคลื่อนไหวทางการเมือง และจะตอบคำถามในเรื่องประชาธิปไตยที่กินได้ของสมัชชาคนจนได้ยากในสถานการณ์ ปัจจุบัน
นาย โชติศักดิ์ อ่อนสูง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเปิดเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะพูดถึงประเด็นที่มาโครงสร้างทางการเมืองหรือโครงสร้างอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง และเพื่อต้องการลงในรายละเอียดของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง นอกจากนี้นายโชติศักดิ์ยังได้ยกบทความของอาจารย์นิธิในเรื่องการเลือกตั้ง นายกโดยตรงมาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมสนทนาอีกด้วย
ซึ่งการเสวนาได้เริ่มจากนายอาเต๊ฟ โซ๊ะโกะ เลขาธิการ สนนท. ได้แจกแจงรายละเอียดในเรื่องระบบประชาธิปไตยก่อนที่จะเข้าถึงในรายละเอียด ของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง ว่าใจความสำคัญของประชาธิปไตยมีหลักใหญ่ๆอยู่ 2 อย่างก็คือ 1.เรื่องอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชนทุกคน2.เรื่อง สิทธิเสรีภาพ เมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้แล้วเราก็จะมาพูดถึงเรื่องการเลือกนายกฯที่มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ซึ่งจริงๆ แล้ว นักวิชาการและผู้ที่ศึกษาเรื่องประชาธิปไตยไม่ได้เห็นแย้งในหลักการเรื่อง นายกฯมาจากการเลือกตั่งโดยตรง แต่ว่าจากที่เราสังเกตกลุ่มบุคคลที่ให้ความเป็นห่วงสิ่งที่ทางเรานำเสนอเป็น เรื่องของการที่เราสามารถจะใช้การเลือกตั้งในประเทศไทยได้มากน้อยแค่ไหน ผมต้องการที่จะให้ทุกคนพูดถึงประชาธิปไตยอย่างเข้าใจในเจตนารมณ์ของ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือถ้าเกิดว่าเราเข้าใจเจตนาของประชาธิปไตย เราเองก็จะคิดผ่านเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงดังกล่าวได้โดยง่ายขึ้น
ด้านนายบัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ได้กล่าวถึงข้อเสนอ ใน6 ข้อ ของกลุ่มประกายไฟซึ่งประกอบไปด้วย การเลือกตั้งนายกโดยตรง การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค การเก็บภาษีก้าวหน้า การยกเลิกภาษีทางอ้อม การสร้างรัฐสวัสดิการ และยกเลิกงบประมาณทางด้านทหาร ทั้ง6ข้อนี้ต้องไปด้วยกัน ซึ่งตลอด 10ปี ที่มีการถกเถียงในเรื่องจะสร้างระบบการเมืองแบบใด จะจัดตั้งรัฐบาลแบบใด ที่จะไม่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งหรืออ่อนแอจนเกินไป การถกเถียงดังกล่าวเป็นการถกเถียงในเรื่องรัฐสภาของชนชั้นนายทุน เป็นการถกเถียงการแบ่งผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนว่าจะจัดสรรให้นายทุนอยู่ใน ระบบแบบใดเพื่อที่จะสอดคล้องกันได้ดี
แต่ ในเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นไม่ถึงกับจะเกิดรัฐสวัสดิการขึ้นได้ใน ทันที แต่จะเป็นปัจจัยหนึ่งอาจจะเอื้อให้เกิดรัฐสวัสดิการขึ้นมาได้ นายบัษฐรัมย์ ได้ให้โมเดลว่าถ้ามีการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นจะเอื้อต่อผลประโยชน์ของชน ชั้นล่างได้อย่างไร นั้นคือ 1. การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงจะให้อำนาจกับประชาชนในการควบคุมทิศทางของรัฐบาลซึ่งจะแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 2.การ ถอดถอนนายกจะมาจากการทำประชามติเท่านั้นซึ่งประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการ ตัดสิน ซึ่งการทำประชามติจะไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเพราะในข้อเสนอทั้งหกข้อจะ เอื้อกันอยู่ นั้นก็คือการตัดงบประมาณทางด้านทหารมาใช้ในการทำประชามติจึงไม่ถือว่าเป็น การสิ้นเปลืองเมื่อตัดงบประมาณด้านทหารออก และถ้าถามว่าการเลือกตั้งนายกโดยตรงจะไปกระทบและสร้างความตึงเครียดกับ ประมุขของรัฐหรือเปล่าแน่นอนว่าต้องกระทบ แต่เมื่อพูดถึงในแง่รูปธรรมของการเมืองไทยก็ต้องพูดกันตามเนื้อหาของรัฐ ธรรมนูญที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ไทยต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้กฎหมาย ซึ่งถ้าใครดึงเอาพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองก็จะผิดรัฐ ธรรมนูญ กษัตริย์สามารถอยู่ได้ในฐานะสัญลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์
ปิด ท้ายโดยนายพรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่าเห็นด้วยกับหลักการของคุณษัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ที่พูดถึงเรื่องระบบนายกที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งได้พูดถึงโครงสร้าง ซึ่งมันน่าจะเป็นไปได้ และถ้าอยากจะเห็นการเมืองที่มันก้าวหน้าผมคิดว่าประเด็นที่พูดถึงรัฐ สวัสดิการก็เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราสามารถชูประเด็นชูนโยบายเหล่านี้ได้มันก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ประเด็นที่ผมมองว่านายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถ้ามองข้อเสียของการเลือกนายกโดยตรง ณ ขณะนี้เชื่อว่าก็คงลำบาก เพราะว่าถ้าให้โดยตรง แน่นอนพวกนายทุน พวกนี้มันต้องต่อสู้ดิ้นรนที่จะเอาชนะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ เห็นได้จากการเมืองท้องถิ่นเอาง่ายๆแค่เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านกำนัน ซึ่ง กกต. ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าเกิดรู้ว่าคนนี้จ่ายค่าหัว 300 คนนี้ก็ต้อง 400 500 วินาทีสุดก็เป็น 1000 ก็ต้องซื้อ ซึ่งเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านก็นิดเดียวแต่ทำไมถึงกล้าซื้อ ก็เพราะ ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมีอะไรเยอะๆ มันจะมีผลประโยชน์สูง ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขลำบาก ซึ่งถ้าเราจะแก้ไขเรื่องนี้ได้เราจะต้องสร้างหน่ออ่อนทางสังคมนิยมให้มากที่ สุดถ้าเราสร้างได้เราจะแก้ได้ง่าย แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ลำบากนิดหนึ่ง นี้ก็คือข้อเสียที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่โดยตรง มันก็คงที่จะแก้ไข ณ เวลานี้ไม่ได้ แต่อนาคตนั้นผมมองว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน
หลัง จากนั้นมีการให้ข้อเสนอ ของนายวันเฉลิม เปรมปลื้ม พรรคแนวร่วมภาคประชาชน ว่าการเลือกตั้งโดยตรงนั้นถ้ามองในแนวเสรีนิยมต่อไปจะมีขีดจำกันในการ เคลื่อนไหวทางการเมือง และจะตอบคำถามในเรื่องประชาธิปไตยที่กินได้ของสมัชชาคนจนได้ยากในสถานการณ์ ปัจจุบัน
สุรนันทน์วันนี้: อาเต็ฟ โซ๊ะโก แนะแก้การเมือง ต้องเลือกตั้งนายกฯ-ยกเลิกสว.
08 ต.ค.--โพสต์ทูเดย์
lสุรนันทน์ : เรื่องการปฏิรูปการเมือง และการร่างรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากข้อเสนอการเมืองใหม่ โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็มีข้อเสนออื่นๆ ที่มีการนำเสนอต่อสาธารณชนที่มีความ แตกต่าง ซึ่งอาจจะเป็น ทางเลือกอีกทางหนึ่ง และหวังว่าจะได้รับการ พิจารณาด้วยเช่นกัน คือข้อเสนอของสหพันธ์นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรเครือข่ายที่ประชุมร่วมกัน วันนี้ผมจึงได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากคุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. คุณอาเต็ฟครับ ไปคุยกันที่ไหนมีใครบ้างไปคุยกัน
อาเต็ฟ : เราไปคุยกันที่จุฬาฯ ที่พูดคุยกันหลักๆ ก็จะมีกลุ่มนักศึกษาจาก สนนท. แล้วก็กลุ่มประกายไฟซึ่งก็มีรุ่นพี่ ที่เรียนจบแล้ว และยังเรียนอยู่ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีกลุ่มสหภาพแรงงาน แล้วก็มีประชาชนผู้สนใจทั่วไป วันนั้นมีประมาณ 30 เกือบ 40 คน
lสุรนันทน์ : วันนั้น สนนท. เป็นเจ้าภาพ แล้ว สนนท. มีตุ๊กตาในใจไว้ก่อนหรือเปล่า เขียนไว้ก่อนหรือมาคุยกันตรงนั้นเลย
อาเต็ฟ : ก็อย่างเรื่องของที่มาของนายกรัฐมนตรี และก็เรื่องรัฐสวัสดิการ
lสุรนันทน์ : ผมต้องถามตรงๆ ว่า มีใครมา ชี้นำไหม บอกว่าจัดประชุมกัน และออกไปต้าน พธม.กัน
อาเต็ฟ : ไม่มีอยู่แล้ว เพราะอย่างเรื่องไหนก็ตามที่ขัดแย้ง กับประชาธิปไตย สนนท.ก็ออกมาคัดค้านเสมอ อย่างยกเลิก พ.ร.ก. ที่รัฐบาลนี้ประกาศ พธม. ก็เสนอให้ยกเลิกเหมือนกัน สนนท. ก็เป็นองค์กรแรกก็ว่าได้ที่ออกมาให้รัฐบาลยกเลิก
lสุรนันทน์ : สนนท. มีข้อเสนอที่เด่นๆ อะไรบ้าง
อาเต็ฟ : อย่างเช่นเรื่องปฏิรูปการเมืองก็จะมีเรื่องการเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยตรง และก็มีการยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา
lสุรนันทน์ : ยกเลิก สว. คือยกเลิกไปเลย ไม่มีเลย ไม่ต้องเลือกตั้ง มีสภาฯ เดียว ทำไมถึงมาถึงจุดนี้ได้
อาเต็ฟ : คือ สนนท. มองว่าที่มาของ สว. จริงๆ คือบางประเทศก็มี สว. บางประเทศก็มีสภาฯ เดียว การมี สว.เป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่าเมื่อก่อน สว.มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด ระยะหลังๆ ก็จะมีการเรียกร้องจากประชาชนอยากให้มีการเลือก ตั้งก็มีการเลือกบ้าง แต่สิ่งที่มาในตอนแรกคือ สว.มาเพื่อคานอำนาจอาจจะเป็น สส.กับรัฐบาล จริงๆ สส.ก็ทำหน้าที่ได้แล้ว คือการมี สว. คือมาจากอคติที่ว่า สส.ไม่มีความรู้ หรือมีความรู้ ที่ไม่ดีพอ สว. คือวุฒิสมาชิก คือผู้ที่มีวุฒิ ซึ่งผม มองว่าไม่ตรงกับประชาธิปไตย
lสุรนันทน์ : จึงคิดว่ามีสภาฯ เดียวได้ ตัด สินใจได้หมด กระบวนการตรวจสอบจะตรวจสอบอย่างไร องค์กรอิสระควรจะมีไหม
อาเต็ฟ : องค์กรอิสระก็คุยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ออกมาในแถลงการณ์ของเรา ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสภาฯ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีเอง ก็คือ ประชาชน
lสุรนันทน์ : อำนาจของประชาชนเลือกผู้แทนฯ เข้าไปประชาชนก็ตรวจสอบ แล้วนายกฯ ทำไมมาตรง
อาเต็ฟ : คือปัจจุบันค่อนข้างจะมีปัญหา เรามองตรงที่พัฒนาการของการเมือง ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมาก แล้วสามารถนำเสนอนโยบายที่ตัวเองนำเสนอสามารถนำมาใช้ได้จริงก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ แต่สมมติว่านายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือว่ามาจากนิติบัญญัติมันจะมีเรื่องผลประโยชน์ เรื่องการต่อรอง เรื่อง ครม.
lสุรนันทน์ : ให้มีที่มาชัดเจน แยกกันไปเลย มาจากประชาชนโดยตรงทั้งสองฝ่าย แต่นายกฯ เองก็ยังต้องไปพึ่งเสียงในสภาที่จะให้ผ่านกฎหมายต่างๆ
อา เต็ฟ : แน่นอน คือลงไปในรายละเอียดนิดหนึ่งคือ อย่างนายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือสมมติว่า ตัวของนายกฯ เองอยากจะให้ผ่านกฎหมายอะไร อาจจะต้องให้สภาฯ เป็นคนอนุมัติ สมมติว่ามติที่ออกมาสวนทางกับสิ่งที่ ครม.ต้องการ ขบวนการก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติได้ ในท้ายที่สุดแล้วเจตนารมณ์ของ สนนท. คือให้ประชาชนเป็นคนตัดสินเพราะประชาชนเป็น เจ้าของอำนาจ
lสุ รนันทน์ : เพราะฉะนั้นให้แยกที่มาเสีย สภาฯ อาจจะคุมโดยพรรคหนึ่งก็ได้ นายกฯ อาจจะเป็นอีกพรรคหนึ่งก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ต้องไปต่อรองกัน เพราะถ้าเกิดมาจากสภาฯ เกรงว่าจะต้องไปพึ่งส่วนต่างๆ ประเด็นนี้ถกเถียงกันนานไหม เพราะเรียกได้ว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามาก
อาเต็ฟ : ก็นานพอสมควรเหมือนกัน เพราะว่าเรากลับไปที่ที่บางคนก็พูด ถึง คือ ปาร์ตี้ลิสต์ ตอนรัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่าเป็นนายกฯ มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ได้หรือไม่ ได้ก็ต่อเมื่อเสียงผ่าน กึ่งหนึ่ง นั่นเป็นกรณีที่ตรงกัน ก็เลยไปได้ แต่เราพูดถึงการเป็นระบบคือจะเป็นลักษณะไหน ตามระบบนั้นก็คือสามารถใช้ได้ตลอด ไม่ใช่ว่าพอตัวบุคคลนี้ มาก็สามารถใช้ได้ แต่พออีกคนมาก็ต้องเปลี่ยนระบบ
lสุ รนันทน์ : เราไม่ได้ไปคิด ยึดติดตัวบุคคลแล้ว เราคิดว่ากรอบน่าจะเป็นอย่างนี้ เอาหลักการให้ถูก แล้วก็เดินต่อ ทางการเมืองมีข้อเสนออื่นอีกหรือไม่ครับ
อาเต็ฟ : ก็เรื่องการเลือกตั้งเขตเดียว เบอร์เดียว เรามองว่าเป็นการใช้สัดส่วนเท่าเทียมกัน คือมองว่าผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนของประชาชนควรจะมาจากเสียง ที่เท่ากัน คืออย่างการเลือกตั้งที่ผ่านมา ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อย่างเขตที่เลือกตั้งได้ 3 คน ประชาชนก็สามารถเลือกได้ 3 คน แล้วก็เขต เลือกตั้งที่เป็นเขตเล็ก เลือกได้คนเดียว ประชาชน ที่มี สส.ได้คนเดียวในเขตของตนเอง ก็ถือว่ามีอำนาจที่น้อยกว่า
lสุรนันทน์ : เป็นหลักมาตรฐานสากล จริงๆ เมืองไทยทดลองมาหมดแล้วนะ ข้อเสนอบาง ข้อเสนอที่เข้ามาแล้วไม่ใช่การเมือง อย่างเรื่องการทำแท้งเสรี พวกนี้เข้ามาได้อย่างไร
อา เต็ฟ : เนื่องจากที่เสวนาของเรามีกลุ่ม หลากหลาย มีกลุ่มผู้หญิง กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มแรงงานก็มี ที่ร่วมเสวนาก็เห็นว่าเป็นข้อเสนออย่างหนึ่งได้ เพราะว่าจะได้เป็นการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนและภาคสังคมว่าจะเห็นด้วยประการใด
lสุรนันทน์ : มีอะไรที่อยากจะให้ประชาชน รับรู้ มีข้อเสนออะไรที่คิดว่าเด่นๆ อีก
อาเต็ฟ : มีเรื่องรัฐสวัสดิการ คือทุกคนมักจะ โทษคนชั้นล่างเสมอว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการเมือง และบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่ใฝ่หาที่จะเรียนรู้ จะเป็นผู้ที่ถูกซื้อเสียงได้ง่าย มักจะเป็นจำเลยของสังคมเสมอ ซึ่งผมมองว่าก่อนที่เราจะให้เขาไปศึกษาเราต้องถามว่า เรื่องปากท้องของเขา เขามีเวลา ที่จะเรียนรู้เรื่องการเมืองหรือเปล่า คือเขาต้อง หาเช้ากินค่ำ ก็ควรที่จะจัดสรรผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้ในฐานะเป็นเจ้าของประเทศด้วยกัน อย่างเรื่อง 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเสนอให้ใช้ตลอดไปเลย และเพิ่มใน รายละเอียดด้วยไม่เฉพาะแต่ 6 มาตรการเพียง อย่างเดียว
lสุรนันทน์ : เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแลสวัสดิการของประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ไปทิ้งเขา เห็นว่ามีเรื่องของภาษีด้วย
อาเต็ฟ : เรื่องภาษีก็ให้เก็บอัตราก้าวหน้า ก็ เป็นข้อเสนอเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเก็บภาษีตามรายได้ ภาษีที่ได้จะเป็นธรรม และสามารถนำมาบริหารเป็นประโยชน์แก่คนที่ขาดโอกาส
lสุรนันทน์ : เมื่อเสนอข้อเสนอนี้ไปแล้วคาดว่า จะได้อะไร
อาเต็ฟ : อย่างน้อยเป็นการปลุกให้ประชาชนตื่น เพื่อทราบว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่ และตอนนี้ทุกภาคส่วน อย่างนักวิชาการก็ดีมักจะพูดถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องนามธรรม แต่ถ้าเรา เสนอแบบนี้เป็นรูปธรรมชัดเจนประชาชนจะได้รู้ว่า ตัวเองสามารถกำหนดได้ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหารของตน คิดว่าคงจะมีการตอบรับที่ดีพอสมควร
lสุรนันทน์ : และเราก็พร้อมจะไปถกเถียงกับคนอื่นๆ ด้วย มีคนโทรมาหาไหมหรือส่งจดหมาย มาไหม ว่าทำอะไรกัน
อาเต็ฟ : ก็มี เราก็บอกว่ายินดีด้วยที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน เราเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางทีเราอาจจะมองจากในมุมหนึ่งในอีกมิติหนึ่ง เขาอาจจะมองในอีกมิติหนึ่ง ถ้าเราได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันคงจะได้ข้อสรุปที่ดี--จบ--
lสุรนันทน์ : เรื่องการปฏิรูปการเมือง และการร่างรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากข้อเสนอการเมืองใหม่ โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็มีข้อเสนออื่นๆ ที่มีการนำเสนอต่อสาธารณชนที่มีความ แตกต่าง ซึ่งอาจจะเป็น ทางเลือกอีกทางหนึ่ง และหวังว่าจะได้รับการ พิจารณาด้วยเช่นกัน คือข้อเสนอของสหพันธ์นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรเครือข่ายที่ประชุมร่วมกัน วันนี้ผมจึงได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากคุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. คุณอาเต็ฟครับ ไปคุยกันที่ไหนมีใครบ้างไปคุยกัน
อาเต็ฟ : เราไปคุยกันที่จุฬาฯ ที่พูดคุยกันหลักๆ ก็จะมีกลุ่มนักศึกษาจาก สนนท. แล้วก็กลุ่มประกายไฟซึ่งก็มีรุ่นพี่ ที่เรียนจบแล้ว และยังเรียนอยู่ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีกลุ่มสหภาพแรงงาน แล้วก็มีประชาชนผู้สนใจทั่วไป วันนั้นมีประมาณ 30 เกือบ 40 คน
lสุรนันทน์ : วันนั้น สนนท. เป็นเจ้าภาพ แล้ว สนนท. มีตุ๊กตาในใจไว้ก่อนหรือเปล่า เขียนไว้ก่อนหรือมาคุยกันตรงนั้นเลย
อาเต็ฟ : ก็อย่างเรื่องของที่มาของนายกรัฐมนตรี และก็เรื่องรัฐสวัสดิการ
lสุรนันทน์ : ผมต้องถามตรงๆ ว่า มีใครมา ชี้นำไหม บอกว่าจัดประชุมกัน และออกไปต้าน พธม.กัน
อาเต็ฟ : ไม่มีอยู่แล้ว เพราะอย่างเรื่องไหนก็ตามที่ขัดแย้ง กับประชาธิปไตย สนนท.ก็ออกมาคัดค้านเสมอ อย่างยกเลิก พ.ร.ก. ที่รัฐบาลนี้ประกาศ พธม. ก็เสนอให้ยกเลิกเหมือนกัน สนนท. ก็เป็นองค์กรแรกก็ว่าได้ที่ออกมาให้รัฐบาลยกเลิก
lสุรนันทน์ : สนนท. มีข้อเสนอที่เด่นๆ อะไรบ้าง
อาเต็ฟ : อย่างเช่นเรื่องปฏิรูปการเมืองก็จะมีเรื่องการเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยตรง และก็มีการยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา
lสุรนันทน์ : ยกเลิก สว. คือยกเลิกไปเลย ไม่มีเลย ไม่ต้องเลือกตั้ง มีสภาฯ เดียว ทำไมถึงมาถึงจุดนี้ได้
อาเต็ฟ : คือ สนนท. มองว่าที่มาของ สว. จริงๆ คือบางประเทศก็มี สว. บางประเทศก็มีสภาฯ เดียว การมี สว.เป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่าเมื่อก่อน สว.มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด ระยะหลังๆ ก็จะมีการเรียกร้องจากประชาชนอยากให้มีการเลือก ตั้งก็มีการเลือกบ้าง แต่สิ่งที่มาในตอนแรกคือ สว.มาเพื่อคานอำนาจอาจจะเป็น สส.กับรัฐบาล จริงๆ สส.ก็ทำหน้าที่ได้แล้ว คือการมี สว. คือมาจากอคติที่ว่า สส.ไม่มีความรู้ หรือมีความรู้ ที่ไม่ดีพอ สว. คือวุฒิสมาชิก คือผู้ที่มีวุฒิ ซึ่งผม มองว่าไม่ตรงกับประชาธิปไตย
lสุรนันทน์ : จึงคิดว่ามีสภาฯ เดียวได้ ตัด สินใจได้หมด กระบวนการตรวจสอบจะตรวจสอบอย่างไร องค์กรอิสระควรจะมีไหม
อาเต็ฟ : องค์กรอิสระก็คุยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ออกมาในแถลงการณ์ของเรา ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสภาฯ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีเอง ก็คือ ประชาชน
lสุรนันทน์ : อำนาจของประชาชนเลือกผู้แทนฯ เข้าไปประชาชนก็ตรวจสอบ แล้วนายกฯ ทำไมมาตรง
อาเต็ฟ : คือปัจจุบันค่อนข้างจะมีปัญหา เรามองตรงที่พัฒนาการของการเมือง ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมาก แล้วสามารถนำเสนอนโยบายที่ตัวเองนำเสนอสามารถนำมาใช้ได้จริงก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ แต่สมมติว่านายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือว่ามาจากนิติบัญญัติมันจะมีเรื่องผลประโยชน์ เรื่องการต่อรอง เรื่อง ครม.
lสุรนันทน์ : ให้มีที่มาชัดเจน แยกกันไปเลย มาจากประชาชนโดยตรงทั้งสองฝ่าย แต่นายกฯ เองก็ยังต้องไปพึ่งเสียงในสภาที่จะให้ผ่านกฎหมายต่างๆ
อา เต็ฟ : แน่นอน คือลงไปในรายละเอียดนิดหนึ่งคือ อย่างนายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือสมมติว่า ตัวของนายกฯ เองอยากจะให้ผ่านกฎหมายอะไร อาจจะต้องให้สภาฯ เป็นคนอนุมัติ สมมติว่ามติที่ออกมาสวนทางกับสิ่งที่ ครม.ต้องการ ขบวนการก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติได้ ในท้ายที่สุดแล้วเจตนารมณ์ของ สนนท. คือให้ประชาชนเป็นคนตัดสินเพราะประชาชนเป็น เจ้าของอำนาจ
lสุ รนันทน์ : เพราะฉะนั้นให้แยกที่มาเสีย สภาฯ อาจจะคุมโดยพรรคหนึ่งก็ได้ นายกฯ อาจจะเป็นอีกพรรคหนึ่งก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ต้องไปต่อรองกัน เพราะถ้าเกิดมาจากสภาฯ เกรงว่าจะต้องไปพึ่งส่วนต่างๆ ประเด็นนี้ถกเถียงกันนานไหม เพราะเรียกได้ว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามาก
อาเต็ฟ : ก็นานพอสมควรเหมือนกัน เพราะว่าเรากลับไปที่ที่บางคนก็พูด ถึง คือ ปาร์ตี้ลิสต์ ตอนรัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่าเป็นนายกฯ มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ได้หรือไม่ ได้ก็ต่อเมื่อเสียงผ่าน กึ่งหนึ่ง นั่นเป็นกรณีที่ตรงกัน ก็เลยไปได้ แต่เราพูดถึงการเป็นระบบคือจะเป็นลักษณะไหน ตามระบบนั้นก็คือสามารถใช้ได้ตลอด ไม่ใช่ว่าพอตัวบุคคลนี้ มาก็สามารถใช้ได้ แต่พออีกคนมาก็ต้องเปลี่ยนระบบ
lสุ รนันทน์ : เราไม่ได้ไปคิด ยึดติดตัวบุคคลแล้ว เราคิดว่ากรอบน่าจะเป็นอย่างนี้ เอาหลักการให้ถูก แล้วก็เดินต่อ ทางการเมืองมีข้อเสนออื่นอีกหรือไม่ครับ
อาเต็ฟ : ก็เรื่องการเลือกตั้งเขตเดียว เบอร์เดียว เรามองว่าเป็นการใช้สัดส่วนเท่าเทียมกัน คือมองว่าผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนของประชาชนควรจะมาจากเสียง ที่เท่ากัน คืออย่างการเลือกตั้งที่ผ่านมา ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อย่างเขตที่เลือกตั้งได้ 3 คน ประชาชนก็สามารถเลือกได้ 3 คน แล้วก็เขต เลือกตั้งที่เป็นเขตเล็ก เลือกได้คนเดียว ประชาชน ที่มี สส.ได้คนเดียวในเขตของตนเอง ก็ถือว่ามีอำนาจที่น้อยกว่า
lสุรนันทน์ : เป็นหลักมาตรฐานสากล จริงๆ เมืองไทยทดลองมาหมดแล้วนะ ข้อเสนอบาง ข้อเสนอที่เข้ามาแล้วไม่ใช่การเมือง อย่างเรื่องการทำแท้งเสรี พวกนี้เข้ามาได้อย่างไร
อา เต็ฟ : เนื่องจากที่เสวนาของเรามีกลุ่ม หลากหลาย มีกลุ่มผู้หญิง กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มแรงงานก็มี ที่ร่วมเสวนาก็เห็นว่าเป็นข้อเสนออย่างหนึ่งได้ เพราะว่าจะได้เป็นการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนและภาคสังคมว่าจะเห็นด้วยประการใด
lสุรนันทน์ : มีอะไรที่อยากจะให้ประชาชน รับรู้ มีข้อเสนออะไรที่คิดว่าเด่นๆ อีก
อาเต็ฟ : มีเรื่องรัฐสวัสดิการ คือทุกคนมักจะ โทษคนชั้นล่างเสมอว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการเมือง และบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่ใฝ่หาที่จะเรียนรู้ จะเป็นผู้ที่ถูกซื้อเสียงได้ง่าย มักจะเป็นจำเลยของสังคมเสมอ ซึ่งผมมองว่าก่อนที่เราจะให้เขาไปศึกษาเราต้องถามว่า เรื่องปากท้องของเขา เขามีเวลา ที่จะเรียนรู้เรื่องการเมืองหรือเปล่า คือเขาต้อง หาเช้ากินค่ำ ก็ควรที่จะจัดสรรผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้ในฐานะเป็นเจ้าของประเทศด้วยกัน อย่างเรื่อง 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเสนอให้ใช้ตลอดไปเลย และเพิ่มใน รายละเอียดด้วยไม่เฉพาะแต่ 6 มาตรการเพียง อย่างเดียว
lสุรนันทน์ : เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแลสวัสดิการของประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ไปทิ้งเขา เห็นว่ามีเรื่องของภาษีด้วย
อาเต็ฟ : เรื่องภาษีก็ให้เก็บอัตราก้าวหน้า ก็ เป็นข้อเสนอเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเก็บภาษีตามรายได้ ภาษีที่ได้จะเป็นธรรม และสามารถนำมาบริหารเป็นประโยชน์แก่คนที่ขาดโอกาส
lสุรนันทน์ : เมื่อเสนอข้อเสนอนี้ไปแล้วคาดว่า จะได้อะไร
อาเต็ฟ : อย่างน้อยเป็นการปลุกให้ประชาชนตื่น เพื่อทราบว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่ และตอนนี้ทุกภาคส่วน อย่างนักวิชาการก็ดีมักจะพูดถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องนามธรรม แต่ถ้าเรา เสนอแบบนี้เป็นรูปธรรมชัดเจนประชาชนจะได้รู้ว่า ตัวเองสามารถกำหนดได้ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหารของตน คิดว่าคงจะมีการตอบรับที่ดีพอสมควร
lสุรนันทน์ : และเราก็พร้อมจะไปถกเถียงกับคนอื่นๆ ด้วย มีคนโทรมาหาไหมหรือส่งจดหมาย มาไหม ว่าทำอะไรกัน
อาเต็ฟ : ก็มี เราก็บอกว่ายินดีด้วยที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน เราเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางทีเราอาจจะมองจากในมุมหนึ่งในอีกมิติหนึ่ง เขาอาจจะมองในอีกมิติหนึ่ง ถ้าเราได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันคงจะได้ข้อสรุปที่ดี--จบ--
Sunday, 28 September 2008
นักศึกษา-แรงงาน เสนอการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระจาก ‘พันธมิตร’ ปฏิรูปเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ
วันที่ 28ก.ย.51 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟ ออกแถลงการณ์ว่าด้วยการเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ โดยกำหนดจะมีการรณรงค์แจกใบปลิวและสร้างเวทีพูดคุยกับประชาชนทั่วไปเกี่ยว กับการเมืองใหม่ของภาคประชาชนครั้งแรกที่สวนจตุจักร วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551 เวลา 11.00 น.
แถลงการณ์
“การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน
ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ”
ณ อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลา
วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2551
ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ “การเมืองใหม่” โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน “การเมืองแบบเก่า” ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่น
กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น “เจ้าภาพ” เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่ เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอ นายกฯพระราชทาน , การเลือกตั้งผสมการสรรหา (เมื่อสังคมไม่ตอบรับก็เปลี่ยนมาเป็นเลือกตั้งทั้งหมดแต่มาจากสาขาอาชีพ ครึ่งหนึ่ง) ดังนั้น “การเมืองใหม่” ของกลุ่มพันธมิตรจึงเป็นแค่เพียงการเมืองใหม่ (สูตรโบราณ) เท่านั้น
ความ พยายามเสนอโครงการทางการเมืองออกมาอย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ เฉพาะหน้าเป็นไปเพื่อเป้าหมายทำลายศัตรูทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมอย่างแท้จริง ไม่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างการเมืองใหม่ที่แท้จริงแต่อย่างใด
กลุ่ม พันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นคนกลุ่มแรกที่พยายามเสนอการเมืองใหม่ เพราะการปฏิรูปสังคม-การเมือง เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนพยายามเสนอและผลักดันให้เป็นจริงตลอดมา ที่ชัดเจนที่สุดคือข้อเสนอจากเวทีสมัชชาสังคมไทยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ที่ พูดถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการภาคประชาชน เพิ่มอำนาจประชาชนคนธรรมดา ลดอำนาจรัฐ ตัวอย่างข้อเสนอที่ก้าวหน้าได้แก่ การลดงบประมาณกองทัพ การเสนอให้มีการเลือกตั้งได้จากสถานที่ทำงาน การเสนอระบบลูกขุนและการสร้างรัฐสวัสดิการ เป็นต้น
สหภาพแรงงาน นักศึกษา ประชาชนและองค์กรแนวร่วมในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนเล็งเห็นว่าเราต้องปฏิรูปสังคมที่เป็นอิสระจากพันธมิตรฯ จึงควรมี ข้อเสนอโครงการทางการเมืองของเราเอง จากการประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อนำเสนอต่อสังคมและจัดกิจกรรมรณรงค์ที่เป็นอิสระจากทั้งฝ่ายพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคมการเมืองที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคน ธรรมดาจริงๆ ดังต่อไปนี้
1. การปฏิรูประบบการเมือง
1.1 สนับสนุนให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ต้องยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา อันเนื่องมาจากมีความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น โดยสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งหมด
1.2 ต้องลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคของการรวมตัวตั้งพรรคการเมืองของประชาชน เช่น ไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน มีสาขาพรรค และจำนวนสมาชิกตามที่กำหนด
1.3 เน้นการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรตามจำนวนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งตามสถานที่ทำงาน เพื่อให้แรงงานสามารถมีผู้แทนของตนเองในพื้นที่ที่ทำงานได้
2. การกระจายอำนาจ
ยก เลิกการปกครองส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมศูนย์จากส่วนกลาง แต่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปกครองตนเองผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างสมบูรณ์
3. ปฏิรูประบบศาล
3.1 ต้อง ลดอำนาจของศาลที่มีอยู่เดิม อันเนื่องมาจากผู้พิพากษาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เราเสนอให้ใช้ระบบลูกขุนที่มาจากการประชาชนธรรมดามาแทนผู้พิพากษาในระบบ ราชการแบบเดิม
3.2 ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงโทษที่ป่าเถื่อนและไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาจริง
3.3 ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังและคลั่งชาติ
4. ปฏิรูปกองทัพ
4.1 ต้องลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพ ของกองทัพ
4.2 เสนอให้ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับสร้างสวนสาธารณะ และศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่คนจน
5. ปฏิรูประบบโครงสร้างภาษี
ต้องยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ที่เก็บจากประชาชนธรรมดา และต้องเก็บภาษีทางตรง ภาษีที่ดิน ภาษีมรดกในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยและอภิสิทธิ์ชนซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย มาใช้เพื่อสร้างสวัสดิการให้แก่คนจน
6. รัฐสวัสดิการ
6.1 ต้อง มีการปฏิรูปที่ดินที่รวมศูนย์อยู่กับนายทุนไม่กี่คนให้แก่ คนจน และเกษตรกร ที่ปราศจากที่ดินหรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
6.2 ต้องสร้างรัฐสวัสดิการ ซึ่งหมายความถึง ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล การศึกษา และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพในราคาถูกหรือฟรี
6.3 ต้องยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งเสรี โดยรัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งสามารถทำได้ อย่างถูกกฎหมายและมีมาตรฐานทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัย
6.4 ต้องมีการขยายมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล เช่น รถเมล์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี ให้มากกว่าเป็นแค่มาตรการเฉพาะหน้า โดยต้องยกระดับการให้บริการการขนส่งมวลชน การไฟฟ้า ประปา และอื่นๆ ให้มีคุณภาพและมีราคาถูกที่สุด
6.5 ยกเลิกแรงงานนอกระบบ และการเอาเปรียบแบ่งแยกแรงงานข้ามชาติ โดยผู้ใช้แรงงานทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเหมือนกันทั่ว ประเทศ
กิจกรรม
1. จะมีการรณรงค์แจกใบปลิวและสร้างเวทีพูดคุยกับประชาชนทั่วไป และขบวนการภาคประชาชนอื่นๆเกี่ยวกับการเมืองใหม่ของภาคประชาชน โดยกิจกรรมแรกของพวกเรา คือ แจกใบปลิวและให้ข้อมูลประชาชนที่สวนจตุจักร วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551 เวลา 11.00 น.
ลงชื่อ
1. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
2.สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล
3. กลุ่มประกายไฟ
Thursday, 25 September 2008
อาเต๊ฟ โซ๊ะโกะ สนนท. ในยุคการเมืองหลากสี
ว่ากันว่า...วัยหนุ่มสาว เป็นช่วงวัยที่มีพลังมากที่สุด คนวัยนี้ไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าสิ่งนั้นเกิดจากความตั้งใจจริงของเขาเอง ก็จะประสบผลสำเร็จลุล่วงไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อมั่น บวกพลังศัทธาอันแรงกล้า ทำให้คนวัยหนุ่มสาวสามารถทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มเปี่ยม และถ้าหากคนหนุ่มสาวที่รวมพลังกัน ต้องการเรียกร้องหาความยุติธรรม เรียกร้องหาเสรีภาพ และความเท่าเทียมนำไปสู่การปลี่ยนแปลงทางสังคม สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความงดงาม มีบทพิสูจน์มากมายในประวัติศาสตร์ของสังคมไทย เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519
...พลังที่มิอาจทัดทาน ของ “เขา” และ “เธอ” จึงถูกร่ำร้องหา จากสังคมมาทุกยุคสมัย...
ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน กลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมากได้ออกมาเคลื่อนไหวให้สังคมรับรู้ว่า พลังของนักศึกษานั้นมีอยู่จริง แม้จะยังเป็นที่คลางแคลงใจของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ว่า พวกเขาเหล่านั้นออกมาด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่? หรือเพียงแต่เป็นค่านิยมตามกระแสม็อบ เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็นับว่าน่าเป็นห่วงบ้านเมืองไทย เพราะหากคนวัยหนุ่มสาวที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมในอนาคต ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างฉาบฉวย พลังอันบริสุทธิ์ก็อาจถูกแทรกแซงจากผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองโดยง่าย ความสนใจทางการเมือง ประสบการณ์ และมุมมองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับคนวัยนี้ที่ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เป็นองค์กรประสานงานจากตัวแทนของนักศึกษาจากองค์กรต่างๆ หลากหลายสถาบัน ประกาศตัวชัดเจนตลอดมาว่า พวกเขาคือพลังนักศึกษาที่บริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ภายใต้ขั้วอำนาจใดๆ ไม่ว่าองค์กรทางการเมือง หรือกลุ่มเอ็นจีโอ การเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งเป็นการระดมความคิดเห็นในแง่มุมของนักศึกษา ที่อยากมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์สังคม โดยประเด็นต่างๆ ที่นักศึกษากลุ่มนี้เคลื่อนไหว ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเมืองเพราะมาจากแนวคิดที่ว่า “สังคมถูกกำหนดโดยนโยบายจากทางการเมือง”
โดยล่าสุดใน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เพิ่งมีการประชุมสมัชชาประจำปี เพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา และ นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก นักศึกษา คณะรัฐศาสต์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้รับการลงมติจากที่ประชุมให้เป็นเลขาธิการฯ คนใหม่
เมื่อเป็นองค์กรนักศึกษาและเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอดมา ผนวกกับปัญหาทางการเมืองหลากสีในปัจจุบัน ตำแหน่งเลขาธิการฯ จึงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างกดดัน แต่จากการทำกิจกรรมนักศึกษา และอยู่ในกลุ่มสายเคลื่อนไหวมาโดยตลอด อาเต็ฟ โซ๊ะโก จึงเข้าใจปัญหาการเมืองไทยเป็นอย่างดี
เดิม “อาเต็ฟ” เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนจะย้ายมาศึกษาที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะเล็งเห็นว่าการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยเปิด น่าจะมีอิสระ และเสรีภาพมากยิ่งกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ในขณะนั้น (ในตำแหน่งเลขานุการชมรมนักศึกษามุสลิม และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการซูรอ) โดยฐานคิดสำคัญที่อยากทำงานกิจกรรมนักศึกษามาจากครอบครัว
“ผมว่ามีนักศึกษาสนใจทำกิจกรรมเยอะนะ แต่ส่วนใหญ่ ก็แค่อยากมีประสบการณ์ คนสนใจงานเคลื่อนไหวจริงๆ มีน้อย และตอนนั้นผมรู้สึกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่มันไม่ใช่ตัวเรา ... เลยอยากมาเรียนรามฯ
ตอนแรกแค่มาลงทะเบียนไว้นะ พอมาเรียนจริงๆ ก็รู้สึกดี รู้สึกว่ามีอะไรหลายอย่างที่อยากจะทำ ตอนนี้ก็ได้ทำไปแล้วในบางส่วน ได้ฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ที่หลากหลายขึ้น ได้แตะปัญหาสังคมอย่างจริงจัง ผ่านกิจกรรมในชมรม จริงๆ ที่บ้านก็มีส่วนนะ พ่อเป็นกำนันเห็นพ่อทำงานมาตลอด ใครเป็นอะไรก็ได้ช่วยเหลือกันก็ไม่ได้มองว่าการทำกิจกรรมเป็นเรื่องที่ยาก ลำบากอะไร ผมว่ามันคุ้นเคยมากกว่า”
กิจกรรมในชมรมนักศึกษามุสลิม ซึ่งมีเครือข่ายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเป็นกิจกรรมแรกๆ ที่อาเต็ฟเริ่มเข้ามาเรียนรู้การทำงาน จนต่อมาได้รับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายนิสิตนักศึกษามุสลิม (คนท.) จากการรวมตัวของนักศึกษาเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยมีการจัดงานเสวนาที่มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี เมื่อกลางปี 2550 จนนำไปสู่เหตุการณ์ชุมนุมใหญ่ ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2550 โดยมีประชาชน และตัวแทนนักศึกษาจากหลายสถาบันเข้าร่วมการชุมเป็นจำนวนมาก และรวมตัวกันก่อตั้ง เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (พปช.) ขึ้น
หลังจากเหตุการณ์ชุมนุมใหญ่ไม่นานวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจใน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับนักศึกษาที่ถูกจัดตั้งโดยขบวนการก่อความไม่ สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“คือเป็นหมายมาจาก พรก. ฉุกเฉิน คือ แค่สงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางภาคใต้ ก็จับกุมได้ โดยมีสาเหตุมาจากการชุมนุมที่มัสยิสกลาง ตอนถูกจับ... ผมเครียดนะ ในใจเรียกหาแต่แม่ แต่พอเรามองเห็นชาวบ้าน ผู้ต้องสงสัยที่ถูกขังรวมกัน แววตามันหดหู่นะ เราก็รู้สึกว่าเราเป็นนักศึกษาเราต้องเข้มแข็งกว่า คือการเป็นนักศึกษาที่ 3 จังหวัดชายแดนมันมีความหมายสำหรับชาวบ้านมากเพื่อเป็นหลักให้พวกเขาได้พักพิง ให้กำลังใจชาวบ้าน ตอนนั้นถูกขังรวมกัน 7 คนครับ
ถูกปล่อยออกมา เพราะกลุ่มเพื่อนๆ ได้ช่วยเหลือกันยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังที่ต่างๆ คณะกรรมการสิทธิ์ มูลนิธิต่างๆ ให้เกิดแรงกดดันเจ้าหน้าที่รัฐ... แต่ในนั้นก็ได้สอนอะไรเราหลายอย่าง เข้าใจสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนมากขึ้น ว่าบางทีเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เข้าใจพื้นที่สักเท่าไหร่ แต่เดิมคิดว่า เป็นแค่ระดับปฏิบัติการเท่านั้น ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมในพื้นที่ แต่เอาเข้าจริง ระดับบนบางคนก็ไม่ได้เข้าใจ สั่งการต่างๆ บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่เหตุการณ์ยังคงไม่สงบจนถึงทุกวันนี้”
เหตุการณ์การชุมนุมที่มัสยิสกลาง จนกระทั่งถูกจับกุมในครั้งนั้นทำให้ อาเต็ฟ ได้แลกเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองหลายอย่าง ได้เรียนรู้วิธีการทำงานจากกลุ่มนักศึกษาต่างกลุ่ม ต่างสถาบัน และทำให้ได้รู้จักกับองค์กรที่มีชื่อว่า สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และได้ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด
“ผมมองว่า สนนท. เป็นองค์กรนักศึกษา ที่ยังบริสุทธ์อยู่นะ ปัจจุบันองค์กรนักศึกษามีเยอะ ส่วนใหญ่ก็มักถูกแทรกแซงจากองค์กรต่างๆ เพื่อให้โน้มเอียงไปตามทิศทางที่กลุ่มต้องการ แต่สหพันธ์นิสิตนักศึกษายังมีอุดมการณ์ทางสังคม โดยปราศจากการครอบงำของหน่วยงานอื่นๆ อยู่
แต่พอมาทำงานจริงๆ มันก็มีอุปสรรคเยอะเหมือนกันนะ กดดันคนทำงานมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันสังคมมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ค่อยมีนักศึกษามาทำกิจกรรม ผมเองก็เห็นด้วยที่คนทำกิจกรรมน้อยลง ปัญหาใน สนนท. ก็ไม่ต่างจากองค์กรอื่นๆ มากนัก กดดันคนทำงาน ไม่ว่าสภาพสังคมภายนอก หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ภายในองค์กรตนเอง ปัญหาหลักๆ คือ ขาดคนทำงาน”
อาเต็ฟ มองว่านักศึกษาส่วนใหญ่สนใจการเรียนมากกว่าการทำกิจกรรมอยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องของอนาคต อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมเท่าที่ควร เพราะถ้านักศึกษามีความเข้มแข้ง และสนใจทางด้านการเมือง ก็จะมาตรวจสอบ และอาจเป็นขวากหนามการทำงานของรัฐบาลได้ ทำอย่างไรให้องค์กรนักศึกษาหมดไป กลายเป็นนักศึกษาที่เก่ง เชื่อง และควบคุมได้ง่าย
ส่วนการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้การทำงานขององค์กรนักศึกษาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง คือการหนุนเสริม องค์กรฐาน (องค์กรสมาชิก) ที่ทำเรื่องปัญหาสังคมอยู่แล้ว แต่อาจขาดปัจจัยต่างๆ เช่นการประสานงานสื่อ ฯลฯ ให้ความช่วยเหลือกันไป เพื่อองค์กรนักศึกษาตามภูมิภาคเติบโต อย่างเข้มแข็ง การเคลื่อนไหว บรรลุเป้าหมาย น่าเชื่อถือ ชอบธรรม และไม่ใช่ความต้องการของคนแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ส่วนการเป็นคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีส่วนทำให้คิดหนักในเรื่องการรับตำแหน่ง
“เราเป็นคนมุสลิม มันเหมือนกับว่าจะเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ ได้รึเปล่า โดยเฉพาะการเป็นผู้นำนักศึกษาจะมันจะดูไม่ดีรึเปล่า เขาจะยอมรับเรารึเปล่า แต่ก็มีเพื่อนๆ ให้กำลังใจเยอะมากว่าเป็นการยกระดับการทำงานขององค์กรนักศึกษา การร่วมงานกันที่หลากหลายไม่ได้จำกัดความเชื่อเรื่องศาสนาหรือแนวคิดแต่อย่างใด”
ในวาระที่เป็นเลขาฯ การทำงานก็ไม่ได้มุ่งเข็มลงภาคใต้เพียงอย่างเดียว เราทำเรื่องอื่นๆ ไปด้วย ตลอด 1 ปีนับจากนี้คงเป็นช่วงพิสูจน์การทำงานครับ
“แม้จะเป็นมุสลิมแต่บ้านไม่เคยสอนให้เรารักมุสลิม มากว่าพุทธ หรือ รักมลายูมากกว่าไทย แต่สอนให้รักมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน”
สาเหตุที่สมาชิกส่วนใหญ่เทคะแนนเสียงลงมาให้หนุ่มมุสลิมคนนี้ เนื่องจากคุณสมบัติข้อโดดเด่นคือ ความสุขุม รอบคอบ และท่าทีที่ประณีประนอม โดยเสียงจากสมาชิกท่านหนึ่งบอกว่า “เลขา สนนท. ไม่จำเป็นต้องเก่ง แต่ต้องการคนที่ทำงานกับคนอื่นๆ ได้ เพราะปีนี้จะเน้นภาพการประนีประนอม และประสานงานกันมากขึ้น” ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้ง การเร่งเชื้อไฟ จึงไม่ใช่คำตอบ
ส่วน อาเต็ฟ เปิดเผยว่า แม้จะรู้สึกเครียดในช่วงแรก แต่เมื่อมองว่า เพื่อนๆ สมาชิกให้ความไว้วางใจก็จะทำหน้าที่ตลอดวาระให้ดีที่สุด และดีใจที่ทุกวันนี้ยังได้เห็นคนหนุ่มสาวออกมาเคลื่อนไหวทางสังคม แม้แนวคิดจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่อยากให้ทุกคนในสังคมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
ทีมงาน ThaiNGO
มูลนิธิกองทุนไทย
webmaster@thaingo.org
24 กันยายน 2551
...พลังที่มิอาจทัดทาน ของ “เขา” และ “เธอ” จึงถูกร่ำร้องหา จากสังคมมาทุกยุคสมัย...
ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน กลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมากได้ออกมาเคลื่อนไหวให้สังคมรับรู้ว่า พลังของนักศึกษานั้นมีอยู่จริง แม้จะยังเป็นที่คลางแคลงใจของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ว่า พวกเขาเหล่านั้นออกมาด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่? หรือเพียงแต่เป็นค่านิยมตามกระแสม็อบ เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็นับว่าน่าเป็นห่วงบ้านเมืองไทย เพราะหากคนวัยหนุ่มสาวที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมในอนาคต ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างฉาบฉวย พลังอันบริสุทธิ์ก็อาจถูกแทรกแซงจากผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองโดยง่าย ความสนใจทางการเมือง ประสบการณ์ และมุมมองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับคนวัยนี้ที่ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เป็นองค์กรประสานงานจากตัวแทนของนักศึกษาจากองค์กรต่างๆ หลากหลายสถาบัน ประกาศตัวชัดเจนตลอดมาว่า พวกเขาคือพลังนักศึกษาที่บริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ภายใต้ขั้วอำนาจใดๆ ไม่ว่าองค์กรทางการเมือง หรือกลุ่มเอ็นจีโอ การเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งเป็นการระดมความคิดเห็นในแง่มุมของนักศึกษา ที่อยากมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์สังคม โดยประเด็นต่างๆ ที่นักศึกษากลุ่มนี้เคลื่อนไหว ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเมืองเพราะมาจากแนวคิดที่ว่า “สังคมถูกกำหนดโดยนโยบายจากทางการเมือง”
โดยล่าสุดใน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เพิ่งมีการประชุมสมัชชาประจำปี เพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา และ นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก นักศึกษา คณะรัฐศาสต์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้รับการลงมติจากที่ประชุมให้เป็นเลขาธิการฯ คนใหม่
เมื่อเป็นองค์กรนักศึกษาและเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอดมา ผนวกกับปัญหาทางการเมืองหลากสีในปัจจุบัน ตำแหน่งเลขาธิการฯ จึงอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างกดดัน แต่จากการทำกิจกรรมนักศึกษา และอยู่ในกลุ่มสายเคลื่อนไหวมาโดยตลอด อาเต็ฟ โซ๊ะโก จึงเข้าใจปัญหาการเมืองไทยเป็นอย่างดี
เดิม “อาเต็ฟ” เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนจะย้ายมาศึกษาที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะเล็งเห็นว่าการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยเปิด น่าจะมีอิสระ และเสรีภาพมากยิ่งกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ในขณะนั้น (ในตำแหน่งเลขานุการชมรมนักศึกษามุสลิม และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการซูรอ) โดยฐานคิดสำคัญที่อยากทำงานกิจกรรมนักศึกษามาจากครอบครัว
“ผมว่ามีนักศึกษาสนใจทำกิจกรรมเยอะนะ แต่ส่วนใหญ่ ก็แค่อยากมีประสบการณ์ คนสนใจงานเคลื่อนไหวจริงๆ มีน้อย และตอนนั้นผมรู้สึกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่มันไม่ใช่ตัวเรา ... เลยอยากมาเรียนรามฯ
ตอนแรกแค่มาลงทะเบียนไว้นะ พอมาเรียนจริงๆ ก็รู้สึกดี รู้สึกว่ามีอะไรหลายอย่างที่อยากจะทำ ตอนนี้ก็ได้ทำไปแล้วในบางส่วน ได้ฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ที่หลากหลายขึ้น ได้แตะปัญหาสังคมอย่างจริงจัง ผ่านกิจกรรมในชมรม จริงๆ ที่บ้านก็มีส่วนนะ พ่อเป็นกำนันเห็นพ่อทำงานมาตลอด ใครเป็นอะไรก็ได้ช่วยเหลือกันก็ไม่ได้มองว่าการทำกิจกรรมเป็นเรื่องที่ยาก ลำบากอะไร ผมว่ามันคุ้นเคยมากกว่า”
กิจกรรมในชมรมนักศึกษามุสลิม ซึ่งมีเครือข่ายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเป็นกิจกรรมแรกๆ ที่อาเต็ฟเริ่มเข้ามาเรียนรู้การทำงาน จนต่อมาได้รับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายนิสิตนักศึกษามุสลิม (คนท.) จากการรวมตัวของนักศึกษาเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยมีการจัดงานเสวนาที่มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี เมื่อกลางปี 2550 จนนำไปสู่เหตุการณ์ชุมนุมใหญ่ ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2550 โดยมีประชาชน และตัวแทนนักศึกษาจากหลายสถาบันเข้าร่วมการชุมเป็นจำนวนมาก และรวมตัวกันก่อตั้ง เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (พปช.) ขึ้น
หลังจากเหตุการณ์ชุมนุมใหญ่ไม่นานวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจใน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับนักศึกษาที่ถูกจัดตั้งโดยขบวนการก่อความไม่ สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“คือเป็นหมายมาจาก พรก. ฉุกเฉิน คือ แค่สงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางภาคใต้ ก็จับกุมได้ โดยมีสาเหตุมาจากการชุมนุมที่มัสยิสกลาง ตอนถูกจับ... ผมเครียดนะ ในใจเรียกหาแต่แม่ แต่พอเรามองเห็นชาวบ้าน ผู้ต้องสงสัยที่ถูกขังรวมกัน แววตามันหดหู่นะ เราก็รู้สึกว่าเราเป็นนักศึกษาเราต้องเข้มแข็งกว่า คือการเป็นนักศึกษาที่ 3 จังหวัดชายแดนมันมีความหมายสำหรับชาวบ้านมากเพื่อเป็นหลักให้พวกเขาได้พักพิง ให้กำลังใจชาวบ้าน ตอนนั้นถูกขังรวมกัน 7 คนครับ
ถูกปล่อยออกมา เพราะกลุ่มเพื่อนๆ ได้ช่วยเหลือกันยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังที่ต่างๆ คณะกรรมการสิทธิ์ มูลนิธิต่างๆ ให้เกิดแรงกดดันเจ้าหน้าที่รัฐ... แต่ในนั้นก็ได้สอนอะไรเราหลายอย่าง เข้าใจสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนมากขึ้น ว่าบางทีเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เข้าใจพื้นที่สักเท่าไหร่ แต่เดิมคิดว่า เป็นแค่ระดับปฏิบัติการเท่านั้น ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมในพื้นที่ แต่เอาเข้าจริง ระดับบนบางคนก็ไม่ได้เข้าใจ สั่งการต่างๆ บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่เหตุการณ์ยังคงไม่สงบจนถึงทุกวันนี้”
เหตุการณ์การชุมนุมที่มัสยิสกลาง จนกระทั่งถูกจับกุมในครั้งนั้นทำให้ อาเต็ฟ ได้แลกเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองหลายอย่าง ได้เรียนรู้วิธีการทำงานจากกลุ่มนักศึกษาต่างกลุ่ม ต่างสถาบัน และทำให้ได้รู้จักกับองค์กรที่มีชื่อว่า สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และได้ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด
“ผมมองว่า สนนท. เป็นองค์กรนักศึกษา ที่ยังบริสุทธ์อยู่นะ ปัจจุบันองค์กรนักศึกษามีเยอะ ส่วนใหญ่ก็มักถูกแทรกแซงจากองค์กรต่างๆ เพื่อให้โน้มเอียงไปตามทิศทางที่กลุ่มต้องการ แต่สหพันธ์นิสิตนักศึกษายังมีอุดมการณ์ทางสังคม โดยปราศจากการครอบงำของหน่วยงานอื่นๆ อยู่
แต่พอมาทำงานจริงๆ มันก็มีอุปสรรคเยอะเหมือนกันนะ กดดันคนทำงานมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันสังคมมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ค่อยมีนักศึกษามาทำกิจกรรม ผมเองก็เห็นด้วยที่คนทำกิจกรรมน้อยลง ปัญหาใน สนนท. ก็ไม่ต่างจากองค์กรอื่นๆ มากนัก กดดันคนทำงาน ไม่ว่าสภาพสังคมภายนอก หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ภายในองค์กรตนเอง ปัญหาหลักๆ คือ ขาดคนทำงาน”
อาเต็ฟ มองว่านักศึกษาส่วนใหญ่สนใจการเรียนมากกว่าการทำกิจกรรมอยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องของอนาคต อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมเท่าที่ควร เพราะถ้านักศึกษามีความเข้มแข้ง และสนใจทางด้านการเมือง ก็จะมาตรวจสอบ และอาจเป็นขวากหนามการทำงานของรัฐบาลได้ ทำอย่างไรให้องค์กรนักศึกษาหมดไป กลายเป็นนักศึกษาที่เก่ง เชื่อง และควบคุมได้ง่าย
ส่วนการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้การทำงานขององค์กรนักศึกษาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง คือการหนุนเสริม องค์กรฐาน (องค์กรสมาชิก) ที่ทำเรื่องปัญหาสังคมอยู่แล้ว แต่อาจขาดปัจจัยต่างๆ เช่นการประสานงานสื่อ ฯลฯ ให้ความช่วยเหลือกันไป เพื่อองค์กรนักศึกษาตามภูมิภาคเติบโต อย่างเข้มแข็ง การเคลื่อนไหว บรรลุเป้าหมาย น่าเชื่อถือ ชอบธรรม และไม่ใช่ความต้องการของคนแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ส่วนการเป็นคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีส่วนทำให้คิดหนักในเรื่องการรับตำแหน่ง
“เราเป็นคนมุสลิม มันเหมือนกับว่าจะเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ ได้รึเปล่า โดยเฉพาะการเป็นผู้นำนักศึกษาจะมันจะดูไม่ดีรึเปล่า เขาจะยอมรับเรารึเปล่า แต่ก็มีเพื่อนๆ ให้กำลังใจเยอะมากว่าเป็นการยกระดับการทำงานขององค์กรนักศึกษา การร่วมงานกันที่หลากหลายไม่ได้จำกัดความเชื่อเรื่องศาสนาหรือแนวคิดแต่อย่างใด”
ในวาระที่เป็นเลขาฯ การทำงานก็ไม่ได้มุ่งเข็มลงภาคใต้เพียงอย่างเดียว เราทำเรื่องอื่นๆ ไปด้วย ตลอด 1 ปีนับจากนี้คงเป็นช่วงพิสูจน์การทำงานครับ
“แม้จะเป็นมุสลิมแต่บ้านไม่เคยสอนให้เรารักมุสลิม มากว่าพุทธ หรือ รักมลายูมากกว่าไทย แต่สอนให้รักมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน”
สาเหตุที่สมาชิกส่วนใหญ่เทคะแนนเสียงลงมาให้หนุ่มมุสลิมคนนี้ เนื่องจากคุณสมบัติข้อโดดเด่นคือ ความสุขุม รอบคอบ และท่าทีที่ประณีประนอม โดยเสียงจากสมาชิกท่านหนึ่งบอกว่า “เลขา สนนท. ไม่จำเป็นต้องเก่ง แต่ต้องการคนที่ทำงานกับคนอื่นๆ ได้ เพราะปีนี้จะเน้นภาพการประนีประนอม และประสานงานกันมากขึ้น” ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้ง การเร่งเชื้อไฟ จึงไม่ใช่คำตอบ
ส่วน อาเต็ฟ เปิดเผยว่า แม้จะรู้สึกเครียดในช่วงแรก แต่เมื่อมองว่า เพื่อนๆ สมาชิกให้ความไว้วางใจก็จะทำหน้าที่ตลอดวาระให้ดีที่สุด และดีใจที่ทุกวันนี้ยังได้เห็นคนหนุ่มสาวออกมาเคลื่อนไหวทางสังคม แม้แนวคิดจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่อยากให้ทุกคนในสังคมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
ทีมงาน ThaiNGO
มูลนิธิกองทุนไทย
webmaster@thaingo.org
24 กันยายน 2551
Sunday, 21 September 2008
“กำหนดการงานตุลารำลึก ๒๕๕๑”
โครงการกำแพงประวัติศาสตร์ฯ ร่วมกับ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“กำหนดการงานตุลารำลึก ๒๕๕๑”
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
.............................................
วันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. การเสวนาวิชาการ เรื่อง ๖ ตุลา กับการปฏิรูปสังคมไทย
ณ ห้องประชุมคณะนิติศาสตร์
๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ร่วมกันตกแต่งบริเวณสวนประติมากรรม โครงการกำแพงฯ ด้วยดอกไม้ ต้นไม้
ณ สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์
๑๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. จัดซุ้มเสวนาภาคประชาชน สนทนาการเมือง
สลับศิลปวัฒนธรรม/การแสดงหลากหลายรูปแบบและเรื่องราว
๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป “เรื่องคืนนั้นในเดือนตุลา” กิจกรรมค้างแรม ณ ตึกกิจกรรมนักศึกษา ร่วมกันซึมซับ
และรำลึกถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลา รวมถึงอภิปรายหัวข้อประวัติศาสตร์การเมือง
(ลงทะเบียน ณ ตึกกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
วันจันทร์ที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๐๗.๐๐ – ๐๗.๓๐ น. ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๓๓ รูป ณ บริเวณหอประชุมใหญ่
๐๗.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. นำเข้าสู่รายการ โดยนายสุรเทพ โลหิตกุล
ประธานในพิธี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี กล่าวเปิดงาน
กล่าวไว้อาลัยและสืบสานเจตนารมณ์เดือนตุลา โดย
ตัวแทน ๑๘ ผู้ต้องหา คุณอภินันท์ บัวหะภักดี เปิดปมละครแขวนคอ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
ตัวแทนญาตีวีรชน
ตัวแทนกลุ่ม องค์กร นักศึกษา
องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มอิสระลานสรรค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มการเมืองเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ
ตัวแทนสมัชชาคนจน
ตัวแทนสหพันธ์-สหภาพแรงงาน
ตัวแทนกลุ่ม องค์กร ประชาธิปไตย
กวีรับเชิญ
๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. พิธีมอบรางวัลคมตุลา
๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ปาฐกถาเชิงวิชาการ เรื่อง “อนาคตของ ๖ ตุลา ๒๕๑๙”
เสนองานวิจัย โดย ดร.ธำรงค์ศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย
และ วิจารณ์งาน โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล
นักคิดนักเขียนผู้สร้างตำนานยุคแสวงหา
ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
วันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๙.๐๐ น. “ครูสมศรี” ภาพยนตร์แนวชีวิตและการต่อสู้
จัดฉายฟรี ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
พร้อมบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ และนักเคลื่อนไหว
วันเสาร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. เสวนาวิชาการ “มรดกตุลากับการชุมนุมสาธารณะ”
วิทยากรโดย - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- คนเดือนตุลา
- นักเคลื่อนไหวด้านการชุมนุมสาธารณะ
- นักวิชาการ สาขานิติศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย นายอนุธีร์ เดชเทวพร
นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๙.๐๐ น. “ลูกทุ่งเพื่อชีวิต” คอนเสิร์ต รำลึก ๓๕ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๓๓ ปี ลูกทุ่งสัจจธรรม
การแสดงคอนเสิร์ตเพลงลูกทุ่งคัดสรร โดยมีเนื้อหาสะท้อนชีวิตในแต่ละช่วงของ
ยุคสมัย และมีทำนองดนตรีที่สวยงาม มีกลิ่นอายของชนบท และวิถีชีวิตแบบไทย
วงดนตรีที่ใช้แสดงเป็นวงดนตรีลูกทุ่งแบบดั้งเดิม ขับร้องด้วยศิลปินเพื่อชีวิต
เช่น หงา คาราวาน หว่อง คาราวาน สุเทพ โฮปแฟมิลี่ เสก ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง
ซูซู-ระพินทร์ พุฒชาติ ริ คีตาญชลี อี๊ด ฟุ๊ตบาท ไข่ มาลีฮวนน่า
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากศิลปินลูกทุ่งรุ่นใหญ่ อาทิ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
เรียม ดาราน้อย สุนารี ราชสีมา ฯลฯ
จัดแสดง ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
บัตรราคา ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ และ ๑๐๐ บาท
สอบถามและซื้อบัตรได้ที่ ๐๒-๖๒๑๘๒๙๘-๙, ๐๘๙-๖๐๑-๐๕๖๖
Email: sdf_thai@yahoo.com
จัดโดย มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. เสวนาวิชาการ “กฎหมู่กฎหมาย: วิถีไทยเชิดสิ่งใด”
วิทยากรโดย - ตัวแทนนักการเมือง
- นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- นักวิชาการ สาขานิติศาสตร์
- นักวิชาการ สาขารัฐศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย นายฐาปน แสนยะบุตร
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖ – ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. - ชมฟรีหนังสั้น และหนังทางเลือก ณ ห้องเรวัติ พุฒินันท์ คณะเศรษฐศาสตร์
- ตลาดหนังสือการเมือง และหนังสือทางเลือก ณ บริเวณสวนประติมากรรมประวัติศาสตร์
- นิทรรศการประวัติศาสตร์เดือนตุลา ณ บริเวณสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
- จาก ๑๔ – ๖ ตุลาคม
- มรดกตุลาสู่การเมืองปัจจุบัน
...........................................เสร็จพิธี..........................................
การแต่งกาย : เครื่องแต่งกายสุภาพ
หมายเหตุ : งดรับหรีดทุกประเภท รับบริจาคต้นไม้ หรือเงินสด
เพื่อตกแต่งประติมานุสรณ์ และเป็นทุนสำหรับจัดงานในปีถัดไป รับของที่ระลึกฟรีในงาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
๑. บุคคลทั่วไป
- อาจารย์วิภา ดาวมณี (โครงการกำแพงประวัติศาสตร์)
โทร ๐๘๑-๖๑๓-๔๗๙๒ Email: octnet72@yahoo.com
๒. นักเรียน นิสิต นักศึกษา
- นายอนุธีร์ เดชเทวพร
โทร ๐๘๑-๑๗๑-๓๓๗๐ Email: anuthee_124@hotmail.com
- นายฐาปน แสนยะบุตร
โทร ๐๘๑-๑๗๑-๓๓๗๐ Email: sthapana@live.com
“กำหนดการงานตุลารำลึก ๒๕๕๑”
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
.............................................
วันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. การเสวนาวิชาการ เรื่อง ๖ ตุลา กับการปฏิรูปสังคมไทย
ณ ห้องประชุมคณะนิติศาสตร์
๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ร่วมกันตกแต่งบริเวณสวนประติมากรรม โครงการกำแพงฯ ด้วยดอกไม้ ต้นไม้
ณ สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์
๑๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. จัดซุ้มเสวนาภาคประชาชน สนทนาการเมือง
สลับศิลปวัฒนธรรม/การแสดงหลากหลายรูปแบบและเรื่องราว
๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป “เรื่องคืนนั้นในเดือนตุลา” กิจกรรมค้างแรม ณ ตึกกิจกรรมนักศึกษา ร่วมกันซึมซับ
และรำลึกถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลา รวมถึงอภิปรายหัวข้อประวัติศาสตร์การเมือง
(ลงทะเบียน ณ ตึกกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
วันจันทร์ที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๐๗.๐๐ – ๐๗.๓๐ น. ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๓๓ รูป ณ บริเวณหอประชุมใหญ่
๐๗.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. นำเข้าสู่รายการ โดยนายสุรเทพ โลหิตกุล
ประธานในพิธี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี กล่าวเปิดงาน
กล่าวไว้อาลัยและสืบสานเจตนารมณ์เดือนตุลา โดย
ตัวแทน ๑๘ ผู้ต้องหา คุณอภินันท์ บัวหะภักดี เปิดปมละครแขวนคอ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
ตัวแทนญาตีวีรชน
ตัวแทนกลุ่ม องค์กร นักศึกษา
องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มอิสระลานสรรค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มการเมืองเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ
ตัวแทนสมัชชาคนจน
ตัวแทนสหพันธ์-สหภาพแรงงาน
ตัวแทนกลุ่ม องค์กร ประชาธิปไตย
กวีรับเชิญ
๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. พิธีมอบรางวัลคมตุลา
๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ปาฐกถาเชิงวิชาการ เรื่อง “อนาคตของ ๖ ตุลา ๒๕๑๙”
เสนองานวิจัย โดย ดร.ธำรงค์ศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย
และ วิจารณ์งาน โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล
นักคิดนักเขียนผู้สร้างตำนานยุคแสวงหา
ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
วันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๙.๐๐ น. “ครูสมศรี” ภาพยนตร์แนวชีวิตและการต่อสู้
จัดฉายฟรี ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
พร้อมบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ และนักเคลื่อนไหว
วันเสาร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. เสวนาวิชาการ “มรดกตุลากับการชุมนุมสาธารณะ”
วิทยากรโดย - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- คนเดือนตุลา
- นักเคลื่อนไหวด้านการชุมนุมสาธารณะ
- นักวิชาการ สาขานิติศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย นายอนุธีร์ เดชเทวพร
นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๙.๐๐ น. “ลูกทุ่งเพื่อชีวิต” คอนเสิร์ต รำลึก ๓๕ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๓๓ ปี ลูกทุ่งสัจจธรรม
การแสดงคอนเสิร์ตเพลงลูกทุ่งคัดสรร โดยมีเนื้อหาสะท้อนชีวิตในแต่ละช่วงของ
ยุคสมัย และมีทำนองดนตรีที่สวยงาม มีกลิ่นอายของชนบท และวิถีชีวิตแบบไทย
วงดนตรีที่ใช้แสดงเป็นวงดนตรีลูกทุ่งแบบดั้งเดิม ขับร้องด้วยศิลปินเพื่อชีวิต
เช่น หงา คาราวาน หว่อง คาราวาน สุเทพ โฮปแฟมิลี่ เสก ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง
ซูซู-ระพินทร์ พุฒชาติ ริ คีตาญชลี อี๊ด ฟุ๊ตบาท ไข่ มาลีฮวนน่า
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากศิลปินลูกทุ่งรุ่นใหญ่ อาทิ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
เรียม ดาราน้อย สุนารี ราชสีมา ฯลฯ
จัดแสดง ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
บัตรราคา ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ และ ๑๐๐ บาท
สอบถามและซื้อบัตรได้ที่ ๐๒-๖๒๑๘๒๙๘-๙, ๐๘๙-๖๐๑-๐๕๖๖
Email: sdf_thai@yahoo.com
จัดโดย มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. เสวนาวิชาการ “กฎหมู่กฎหมาย: วิถีไทยเชิดสิ่งใด”
วิทยากรโดย - ตัวแทนนักการเมือง
- นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- นักวิชาการ สาขานิติศาสตร์
- นักวิชาการ สาขารัฐศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย นายฐาปน แสนยะบุตร
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖ – ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. - ชมฟรีหนังสั้น และหนังทางเลือก ณ ห้องเรวัติ พุฒินันท์ คณะเศรษฐศาสตร์
- ตลาดหนังสือการเมือง และหนังสือทางเลือก ณ บริเวณสวนประติมากรรมประวัติศาสตร์
- นิทรรศการประวัติศาสตร์เดือนตุลา ณ บริเวณสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
- จาก ๑๔ – ๖ ตุลาคม
- มรดกตุลาสู่การเมืองปัจจุบัน
...........................................เสร็จพิธี..........................................
การแต่งกาย : เครื่องแต่งกายสุภาพ
หมายเหตุ : งดรับหรีดทุกประเภท รับบริจาคต้นไม้ หรือเงินสด
เพื่อตกแต่งประติมานุสรณ์ และเป็นทุนสำหรับจัดงานในปีถัดไป รับของที่ระลึกฟรีในงาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
๑. บุคคลทั่วไป
- อาจารย์วิภา ดาวมณี (โครงการกำแพงประวัติศาสตร์)
โทร ๐๘๑-๖๑๓-๔๗๙๒ Email: octnet72@yahoo.com
๒. นักเรียน นิสิต นักศึกษา
- นายอนุธีร์ เดชเทวพร
โทร ๐๘๑-๑๗๑-๓๓๗๐ Email: anuthee_124@hotmail.com
- นายฐาปน แสนยะบุตร
โทร ๐๘๑-๑๗๑-๓๓๗๐ Email: sthapana@live.com
Friday, 12 September 2008
ดีเบต 4 ขัว้ พันธมิตรเด็ก vs สนนท. vs อมธ. vs กปก. :
ดีเบต 4 ขัว้ พันธมิตรเด็ก vs สนนท. vs อมธ. vs กปก. :
“บทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง”
เสาร์ 13 กันยายน 2551 13:30-16:30 น.
ห้อง 101 ชัน้ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถ่ายทอดโทรทัศน์ทางช่อง ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส)
ดีเบต 4 ขัว้ “บทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง” โดย
● ศตวรรษ อิทรายุท ตัวแทนนักศึกษากลุ่มพันธมิตรเด็ก (Young PAD)
● อาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
● กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช ตัวแทนนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิก๊ (กปก.)
● ตัวแทนองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) (*อยู่ในระหว่างการติดต่อ)
ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นโดย
● ไชยันต์ ไชยพร รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำาเนินรายการ
● พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2551 เวลา 13:30-16:30 น.
ห้อง 101 ชัน้ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และทางทีวีไทย
“บทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง”
เสาร์ 13 กันยายน 2551 13:30-16:30 น.
ห้อง 101 ชัน้ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถ่ายทอดโทรทัศน์ทางช่อง ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส)
ดีเบต 4 ขัว้ “บทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง” โดย
● ศตวรรษ อิทรายุท ตัวแทนนักศึกษากลุ่มพันธมิตรเด็ก (Young PAD)
● อาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
● กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช ตัวแทนนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิก๊ (กปก.)
● ตัวแทนองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) (*อยู่ในระหว่างการติดต่อ)
ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นโดย
● ไชยันต์ ไชยพร รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำาเนินรายการ
● พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2551 เวลา 13:30-16:30 น.
ห้อง 101 ชัน้ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และทางทีวีไทย
แถลงการณ์ต่อสถานการณ์การเมือง
ในภาวะที่การเมืองเกิดความขัดแย้งแทบทั่วทุกภาคส่วน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) มีความเห็นเสมอมา โดยอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า “อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของประชาชน” ทำให้ที่ผ่านมาได้เคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มาจาก (นอมินี) คณะรัฐประหาร อีกทั้งเรียกร้องสังคมให้อยู่บนฐานประชาธิปไตยประชาชน ที่การเลือกตั้งเป็นสิ่งพื้นฐานขั้นต่ำที่สุดที่เราควรมี
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีข้อเสนอดังนี้
1. สำหรับการชุมนุมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ ของทุกฝ่ายต้องไม่นำพาไปสู่การรัฐประหาร อนึ่ง สำหรับในอนาคตที่กำลังจะครบรอบ 2 ปีในวันที่ 19 กันยายนนี้ จึงขอเชิญชวนทุกฝ่ายรำลึกการเกิดเหตุการณ์การรัฐประหาร สรุปบทเรียนถึงผลเสียมหาศาลในอดีตที่ผ่านมา และขอให้นักวิชาการชำระประวัติศาสตร์กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนรัฐประหารเพื่อ สร้างบรรทัดฐานไม่ให้เกิดเหตุการณ์รัฐประหารซ้ำอีกครั้ง
2. สนนท.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของทุกฝ่ายด้วยการยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
3. ขอให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 9 คนที่ถูกออกหมายจับเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามข้อกล่าวหาโดยให้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องตัดสิน
4. จากเหตุการณ์การปะทะกันในวันที่ 2 กันยายน 2551 สนนท. ขอ ประณามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สร้างเงื่อนไขการปะทะกันอันจะนำไปสู่ ความรุนแรงและความสูญเสีย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนคือ นายณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง ซึ่งเป็นผู้ร่วมชุมนุมของ นปช.
5. ไม่ว่าการเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้จะจบลงเช่นไร สนนท.ขอคัดค้านการได้มาซึ่งอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร การเมืองใหม่ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำเสนอเลือกตั้ง 30% สรรหา 70% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการของการปกครองประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยโดยผ่านการเลือกตั้งในระบอบรัฐสภา ที่ทุกคนมีสิทธิในการใช้อำนาจอย่างเท่าเทียม
อย่างไรก็ตาม หากพันธมิตรฯ ต้องการเสนอการเมืองใหม่ที่ให้ผลประโยชน์กับประชาชนจริงๆ ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นเช่นใด สน นท.เสนอว่าให้จัดเวทีถกเกียงกันเรื่องนี้ และเสนอให้รัฐบาลจัดทำประชามติเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเมือง ให้สมกับที่พันธมิตรได้กล่าวอ้างมาเสมอว่า “ให้ประชาชนมีส่วนร่วม”
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
5 กันยายน 2551
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีข้อเสนอดังนี้
1. สำหรับการชุมนุมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ ของทุกฝ่ายต้องไม่นำพาไปสู่การรัฐประหาร อนึ่ง สำหรับในอนาคตที่กำลังจะครบรอบ 2 ปีในวันที่ 19 กันยายนนี้ จึงขอเชิญชวนทุกฝ่ายรำลึกการเกิดเหตุการณ์การรัฐประหาร สรุปบทเรียนถึงผลเสียมหาศาลในอดีตที่ผ่านมา และขอให้นักวิชาการชำระประวัติศาสตร์กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนรัฐประหารเพื่อ สร้างบรรทัดฐานไม่ให้เกิดเหตุการณ์รัฐประหารซ้ำอีกครั้ง
2. สนนท.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของทุกฝ่ายด้วยการยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
3. ขอให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 9 คนที่ถูกออกหมายจับเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามข้อกล่าวหาโดยให้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องตัดสิน
4. จากเหตุการณ์การปะทะกันในวันที่ 2 กันยายน 2551 สนนท. ขอ ประณามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สร้างเงื่อนไขการปะทะกันอันจะนำไปสู่ ความรุนแรงและความสูญเสีย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนคือ นายณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง ซึ่งเป็นผู้ร่วมชุมนุมของ นปช.
5. ไม่ว่าการเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้จะจบลงเช่นไร สนนท.ขอคัดค้านการได้มาซึ่งอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร การเมืองใหม่ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำเสนอเลือกตั้ง 30% สรรหา 70% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการของการปกครองประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยโดยผ่านการเลือกตั้งในระบอบรัฐสภา ที่ทุกคนมีสิทธิในการใช้อำนาจอย่างเท่าเทียม
อย่างไรก็ตาม หากพันธมิตรฯ ต้องการเสนอการเมืองใหม่ที่ให้ผลประโยชน์กับประชาชนจริงๆ ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นเช่นใด สน นท.เสนอว่าให้จัดเวทีถกเกียงกันเรื่องนี้ และเสนอให้รัฐบาลจัดทำประชามติเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเมือง ให้สมกับที่พันธมิตรได้กล่าวอ้างมาเสมอว่า “ให้ประชาชนมีส่วนร่วม”
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
5 กันยายน 2551
หนังสือเปิดผนึกถึงผู้บัญชาการทหารบก
เรื่อง ขอให้ทหารวางตัวเป็นกลางในสถานการณ์ที่มีแต่ความขัดแย้งในสังคมและเป็นทหารประชาธิปไตย
เรียน พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
เนื่อง จากสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ(นปช.) อีกทั้งมีความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน เกิดขึ้นมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งหลังจากเหตุการณ์การปะทะกันของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แห่งชาติ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อคืนวันที่ 2 กันยายน 2551 จนก่อให้เกิดความรุนแรงและความสูญเสียในชีวิตของประชาชนคนไทยด้วยกันเอง จนรัฐบาลต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำให้ทหารมีบทบาทเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้นท่ามกลางความขัด แย้งของกลุ่มต่างๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) เป็นองค์กรของนิสิตนักศึกษาที่รวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อปกป้องและส่งเสริม ประชาธิปไตย รวมทั้งการร่วมต่อสู้เรียกร้องความไม่เป็นธรรมให้กับพี่น้องนักศึกษาและ ประชาชนในสังคม มีความกังวลและเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อให้เกิดความสบายใจในทุกภาคส่วนของสังคมสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ไทย(สนนท.) ขอเรียกร้องให้ทหารวางตัวเป็นกลางท่ามกลางสถานการณ์ที่มีแต่ความขัดแย้งทาง การเมืองของสังคมและขอให้เป็นทหารมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยการรัฐประ-หารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนคนทุกคน เชื่อมั่นและศรัทธาว่าการปกครองที่ดีที่สุดต้องมาจากประชาชน อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน
สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) มีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ความขัดแย้งของสังคมในขณะนี้จะผ่านพ้นไปได้ด้วย ดีด้วยความร่วมมือร่วมใจในการที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างจริงจัง ทั้งนี้จะต้องเป็นไปด้วยเหตุและผลและความจริงใจในการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่การนำพาประเทศเข้าสู่สภาวะปกติเพื่อก่อให้เกิดความสมานฉันท์ของ คนในชาติ
ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
5 กันยายน 2551
เรียน พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
เนื่อง จากสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ(นปช.) อีกทั้งมีความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน เกิดขึ้นมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งหลังจากเหตุการณ์การปะทะกันของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แห่งชาติ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อคืนวันที่ 2 กันยายน 2551 จนก่อให้เกิดความรุนแรงและความสูญเสียในชีวิตของประชาชนคนไทยด้วยกันเอง จนรัฐบาลต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำให้ทหารมีบทบาทเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้นท่ามกลางความขัด แย้งของกลุ่มต่างๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) เป็นองค์กรของนิสิตนักศึกษาที่รวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อปกป้องและส่งเสริม ประชาธิปไตย รวมทั้งการร่วมต่อสู้เรียกร้องความไม่เป็นธรรมให้กับพี่น้องนักศึกษาและ ประชาชนในสังคม มีความกังวลและเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อให้เกิดความสบายใจในทุกภาคส่วนของสังคมสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ไทย(สนนท.) ขอเรียกร้องให้ทหารวางตัวเป็นกลางท่ามกลางสถานการณ์ที่มีแต่ความขัดแย้งทาง การเมืองของสังคมและขอให้เป็นทหารมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยการรัฐประ-หารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนคนทุกคน เชื่อมั่นและศรัทธาว่าการปกครองที่ดีที่สุดต้องมาจากประชาชน อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน
สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) มีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ความขัดแย้งของสังคมในขณะนี้จะผ่านพ้นไปได้ด้วย ดีด้วยความร่วมมือร่วมใจในการที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างจริงจัง ทั้งนี้จะต้องเป็นไปด้วยเหตุและผลและความจริงใจในการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่การนำพาประเทศเข้าสู่สภาวะปกติเพื่อก่อให้เกิดความสมานฉันท์ของ คนในชาติ
ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
5 กันยายน 2551
Subscribe to:
Posts (Atom)